ศูนย์พระเครื่องจตุคาม

ดูรายการวัตถุมงคล  

รุ่นทรัพย์มหาศาลบันดาลสุข



พิธีมหาพุทธาภิเษก เทวาภิเษก

พิธีที่ 1 วันเสาร์ที่ 26 พ.ค. 2550 (ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 7) พิธีบวงสรวงองค์จตุคามรามเทพ ณ มณฑลพิธี วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.นครศรีธรรมราช

พิธีที่ 2 วันเสาร์ที่ 2 มิ.ย. 2550 (ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 7) พิธีบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ณ หอพระอิศวร อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช โดยพระเกจิอาจารย์ใน จ.นครศรีธรรมราช และพิธีเทวาภิเษกโดยพราหมณ์โชติทวิสุวรรณ (ขณะเริ่มพิธีเทวาภิเษกได้เกิดพระอาทิตย์ทรงกลด)

พิธีที่ 3 วันพฤหัสบดีที่ 21 มิ.ย. 2550 (ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 8) พิธีกดพิมพ์นำฤกษ์ ณ มณฑลพิธี วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร โดยเกจิอาจารย์ผู้ทรงอิทธิคุณ นำโดยหลวงพ่อเอื้อม กตปุญโญ วัดบางเนียน อายุ 103 ปี ประธานฝ่ายสงฆ์เป็นผู้จุดเทียนชัย และกดพิมพ์นำฤกษ์ และเกจิอาจารย์ชื่อดังร่วมปลุกเสก และกดพิมพ์นำฤกษ์ดังนี้ 1.พระราชธรรมสุธี เจ้าคณะจังหวัดนครศรีธรรมราช (ธรรมยุต) เจ้าอาวาสวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.นครศรีธรรมราช 2.พระเทพสิริโสภณ เจ้าคณะจังหวัดนครศรีธรรมราช (มหานิกาย) เจ้าอาวาสวัดวังตะวันตก จ.นครศรีธรรมราช 3.พ่อท่านนวล วัดประดิษฐาราม จ.นครศรีธรรมราช 4.พระอาจารย์หรั่ง สำนักสงฆ์ห้วยเต็ง จ.นครศรีธรรมราช 5.พ่อท่านเนื่อง วัดสวนจัน จ.นครศรีธรรมราช 6.พระมหาไมตรี วัดพระนคร จ.นครศรีธรรมราช 7.หลวงปู่ไข่ วัดลำเนา จ.นครศรีธรรมราช 8.พ่อท่านเอียด วัดโคกแย้ม จ.พัทลุง 9.พ่อท่านเณร วัดโคกเนียน จ.พัทลุง 10.พ่อท่านพุ่ม อายุ 105 ปี 11.พ่อท่านประสูตร วัดในเตา จ.ตรัง โดยมีพระอาจารย์นิกร วัดเตาปูน จ.นครศรีธรรมราช เป็นผู้นำในการประกอบพิธี (ขณะเริ่มพิธีได้เกิดพระอาทิตย์ทรงกลด)

พิธีที่ 4 วันเสาร์ที่ 14 ก.ค. 2550 (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8) พิธีสมโภชน์ ณ อุโบสถ วัดบ้านตาล ต.กำแพงเซา อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช

พิธีที่ 5 วันอาทิตย์ที่ 12 ส.ค. 2550 (วันมหามงคล) เวลา 14.19 น. พิธีมหาเทวาภิเษก ณ วัดเขาอ้อ จ.พัทลุง โดยพระเกจิอาจารย์ดังสายเขาอ้อ 1.พ่อท่านนวล วัดประดิษฐาราม จ.นครศรีธรรมราช 2.หลวงปู่ไข่ วัดลำเนา จ.นครศรีธรรมราช 3.พ่อท่านเขียว วัดห้วยเงาะ จ.ปัตตานี 4.พ่อท่านคล้อย วัดภูเขาทอง จ.พัทลุง 5.พ่อท่านเอียด วัดโคกแย้ม จ.พัทลุง (ดับเทียนชัย) 6.พ่อเณร วัดโคกเนียน จ.พัทลุง 7.พ่อท่านหรหม วัดบ้านสวน จ.พัทลุง 8.หลวงพ่อท้วม วัดศรีสุวรรณ จ.สุราษฏร์ธานี

พิธีที่ 6 วันพฤหัสบดีที่ 16 ส.ค. 2550 (ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 9) พิธีเทวาภิเษก ณ มณฑลพิธีศาลหลักเมือง จ.นครศรีธรรมราช พิธีพุทธาภิเษก โดยเกจิอาจารย์สายเขาอ้อ และครูบาบุญคุ้ม

พิธีที่ 7 วันจันทร์ที่ 20 ส.ค. 2550 (ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 9) เวลา 15.19 น. พิธีมหาพุทธาภิเษก เทวาภิเษก ณ มณฑลพิธีวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.นครศรีธรรมราช โดยเกจิอาจารย์ผู้ทรงอิทธิคุณ นำโดย หลวงพ่อเอื้อม กตปุญโญ วัดบางเนียน จุดเทียนชัย และเกจิอาจารย์ชื่อดังใน จ.นครศรีธรรมราช, จ.สุราษฏร์ธานี และจ.พัทลุง (สายเขาอ้อ) ปลุกเสกดังนี้ พ่อท่านนวล วัดประดิษฐาราม จ.นครศรีธรรมราช, หลวงปู่ไข่ วัดลำนาว จ.นครศรีธรรมราช, พ่อท่านเจียม วัดหน้าพระธาตุ จ.นครศรีธรรมราช, พ่อท่านชวน วัดบางใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช, พ่อท่านเอียด วัดโคกแย้ม จ.พัทลุง, พ่อท่านพรหม วัดบ้านสวย จ.พัทลุง, พ่อท่านคล้อย วัดภูเขาทอง จ.พัทลุง, พ่อเณร วัดโคกเนียน จ.พัทลุง, พ่อท่านแคล้ว วัดธรรมเจดีย์ จ.พัทลุง, พระมหาอุทัย วัดดอนศาลา จ.พัทลุง, หลวงพ่อเฉวียน วัดพิกุลทอง จ.พัทลุง, พ่อท่านเขียว วัดห้วยเงาะ จ.ปัตตานี, หลวงพ่อชูชาติ วัดท่าไทร จ.สุราษฏร์ธานี, หลวงพ่อท้วม วัดศรีสุวรรณ จ.สุราษฏร์ธานี, หลวงพ่อกระจ่าง วัดน้ำรอบ จ.สุราษฏร์ธานี, หลวงพ่อทวี วัดไทรงาม เจ้าคณะอำเภอลานสกา จ.นครศรีธรรมราช, พระครูญาณธราภรณ์ วัดโคกโพธิสถิตย์, พระอาจารย์หรั่ง สำนังสงฆ์ห้วยเต็ง และพระราชธรรมสุธี เจ้าอาวาสวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นผู้ดับเทียนชัย โดยมีพระอาจารย์นพกรณ์ วรปัญโญ วัดสรรเสริญ (วัดสอ) เป็นผู้นำในการประกอบพิธี

หลวงพ่อเอื้อม กตปุญโญ อายุ 103 ปี ผู้จุดเทียนชัย, กดพิมพ์นำฤกษ์ และเจิมองค์จตุคามรุ่นทรัพย์มหาศาลบันดาลสุข









วัตถุประสงค์ในการจัดสร้าง

1. ยกช่อฟ้าอุโบสถวัดบ้านตาล

2. สร้างศาลาเอนกประสงค์ และสร้างศาลาธรรมสังเวชวัดบ้านตาล

3. บริจาคให้มูลนิธิสาธารณะประโยชน์จังหวัดชลบุรี

4. สมทบทุนในการปรับปรุง สถานพยาบาลผู้ต้องขัง ในสถานกักขังกลาง จังหวัดปทุมธานี













ประวัติ นะโม

นะโม เป็นเงินยุคแรกสุดของอาณาจักรตามพรลิงค์ที่มีขนาดและรูปแบบแน่นอน ผลิตใช้ตั้งแต่พุทธศตวรรณที่ 12 จนถึงพุทธศตวรรณที่ 17 ในตำนานเมืองนครศรีธรรมราชตั้งแต่ตั้งราชธานี ได้เกิดโรคห่าขึ้น เพื่อปัดเป่าโรคร้ายนี้ พระยาศรีธรรมโศกราชได้ทำเงินนะโม ด้วยพิธีกรรมอันสูงส่งของพราหมณ์ โดยอัญเชิญเทพเจ้าทั้งสามคือ พระศิวะ พระวิษณุ และพระหรหม มาสถิตในหัวนะโม ส่วนหนึ่งนำไปฝังไว้ที่ประตูเมืองทั้ง 9 และตามใบเสมากำแพงเมืองทั้ง 4 ทิศ เมื่อโปรยเงินนะโมและประพรมน้ำมนต์ไปทั่วพระนครแล้ว เงินที่เหลือก็แจกจ่ายแก่ประชาชนทั่วไป จึงถือเป็นเครื่องลางของขลังที่พบได้ทั่วไปในเมืองนครศรีธรรมราช นะโม สร้างกันมาตั้งแต่ตั้งเมืองพระเวียงมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในการสร้างแต่ละครั้งจะต้องทำพิธี 9 วัน 9 คืน ในยุคแรกๆ จะมีปรอทผสม แต่หลังจากสมัยอยุธยาตอนกลางมาจะเป็นเนื้อเงิน

รับวัตถุมงคลประมาณเดือน กันยายน 2550