ศูนย์พระเครื่องจตุคาม

ดูรายการวัตถุมงคล  

รุ่นปรกเกล้า

ครั้งที่ 1 วันที่ 1 เมษายน 2549 พิธีเททองหล่อในฤกษ์ ปลุกเสกฉนวนมวลสารโลหะธาตุ โดยเกจิอาจารย์สายเขาอ้อ 8 รูป ณ มณฑลในพิธี หาดทรายแก้ว วัดพระมหาธาตุ จ.นครศรีธรรมราช ครั้งที่ 2 วันที่ 19 มิถุนายน 2549 พิธีมังคลาเทวาภิเษกครั้งยิ่งใหญ่แห่งประวัติกาล โดยเกจิอาจารย์สายอีสาน 8 รูป ณ เทวสถานยอดเขาปราสาทพนมรุ้ง จ.บุรีรัมย์ จุดกำเนิดพลังเทพอันศักดิ์สิทธิ์

ไม่ว่าประชาชนจนรวยสักปานใดในทั่วหล้า ก็จะได้บูชาองค์พ่อที่มีความศักดิ์สิทธิ์ ดุจมีชีวิตเท่ากัน



ศาลาการเปรียญ ขณะดำเนินการก่อสร้าง ณ วัดสิรินธรเทพรัตนาราม ในพระราชูปถัมภ์

จตุคามรามเทพ องค์พ่อจตุคามรามเทพ แห่งอดีตบูรพกษัตริยาธิราชเจ้า ซึ่งมาสถิตย์เป็นผู้คุ้มครอง ดูแลบ้านเมืองทั้งสี่ทิศทรงฤทธิ์อำนาจอย่างเต็มเปี่ยม ทั้งยังเพียบพร้อมไปด้วยบารมีธรรม 10 ประการ แห่งพระโพธิสัตว์ ผู้มีความเมตตาต่อมนุษย์ทุกผู้ทุกนาม ซึ่งมีรูปจำหลักที่บานประตูไม้ทั้งสอง ที่ทางขึ้นลานประทักษิณรอบองค์พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช และอีกนัยหนึ่งมีชื่อเป็นทางการว่า พระเจ้าจันทรภาณุ และในอีกชาติภพหนึ่งเป็นกษัตริย์ที่มีนามว่า พญาศรีธรรมโศกราช การที่องค์พ่อฯ ถูกขนานนามว่า ราชันดำแห่งทะเลใต้นั้น เพราะอาณาจักรศรีวิชัยอยู่ติดทะเลชวา และพระวรกายของพระองค์มีสีเข้ม นอกจากจะเป็นกษัตริย์แล้ว ในอีกชาติภพหนึ่งยังเป็นนักรบที่แกร่งกล้าสามารถไม่เคยแพ้ผู้ใด นามว่า พังพะกาฬ องค์พ่อฯ ทรงบำเพ็ญตน สร้างบารมีเป็นพระโพธิสัตว์ สุวรรณภูมิ บรรเทาทุกข์แก่มวลมนุษย์ สุริยัน - จันทรา นั้นเป็นตัวแทนขององค์พ่อ ส่วนดวงตราพญาราหู ดวงตราสองแผ่นดินศรีวิชัย สุวรรณภูมิ และ 12 นักษัตรเป็นรูปแบบของดวงตราอันศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของจตุคามศาสตร์ ซึ่งทรงฤทธานุภาพในทุกๆ ด้าน นายเทพไท เสนพงศ์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดนครศรีธรรมราช มีจิตศรัทธาเลื่อมใสในองค์พ่อจตุคามรามเทพ ได้รับเป็นประธานจัดสร้างวัตถุมงคล องค์จตุคามรามเทพ โดยใช้ชื่อรุ่นอันเป็นมงคลนาม รุ่นปรกเกล้า เพื่อนำรายได้สบทบทุนในการจัดสร้างศาลาการเปรียญ ณ วัดสิรินธรเทพรัตนาราม ในพระราชูปถัมภ์ ทั้งนี้ เพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายะเป็นพระราชกุศลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี พ.ศ. 2549

 จตุคามรามเทพ ปรก 9 เศียร ขนาดหน้าตักกว้าง 9 นิ้ว สูง 63 ซม. เนื้อบรอนซ์ (เทปฐมฤกษ์) จำนวนสร้าง 60 องค์ โค้ดและหมายเลข 1-60 ชุดสมนาคุณ - ผ้ายันต์จตุคามรามเทพ 1 ผืน - ผ้ายันต์ปิดตาศรีมหาราชพังพะกาฬ 1 ผืน - ผ้ายันต์สุริยัน - จันทรา 1 ผืน - เหรียญพระเทวโพธิสัตว์พังพะกาฬ เนื้อพระบูชา 1 เหรียญ และเนื้อชินตะกั่ว 1 เหรียญ

 

จตุคามรามเทพ ปรก 9 เศียร ขนาดหน้าตักกว้าง 9 นิ้ว สูง 63 ซม. เนื้อทองสำริด จำนวนสร้าง 599 องค์ เฉพาะเนื้อทองสำริด (เทในฤกษ์ 32 องค์) โค้ดและหมายเลข 1-32, เนื้อทองสำริด โค้ดและหมายเลข 33-599 ชุดสมนาคุณ - ผ้ายันต์จตุคามรามเทพ 1 ผืน - ผ้ายันต์ปิดตาศรีมหาราชพังพะกาฬ 1 ผืน - ผ้ายันต์สุริยัน - จันทรา 1 ผืน - เหรียญพระเทวโพธิสัตว์พังพะกาฬ เนื้อพระบูชา 1 เหรียญ และเนื้อชินตะกั่ว 1 เหรียญ

พระเทวราชโพธิสัตว์ จตุคามรามเทพ นาคปรก 9 เศียร ปางขัดสมาธิเพชร พระโพธิสัตว์นาคปรก 9 เศียร พระศรีมหาราชผู้ยิ่งใหญ่แห่งทะเลใต้ ประทับนั่งอยู่เหนือบัลลังก์พญานาคในท่าปางสมาธิเกล้าพระเกศาเป็นรูปชฎามกุฎ สวมกระบังหน้าประดับประดาด้วยลวดลายศรีวิชัยอันงามเฉิดฉาย กรองพระศอสองชั้น ทรงสะพายแพรพาดพระอังศาซ้าย ทรงสายยัชโญปวีต หรือสายธรำมงคล อันเป็นเครื่องหมายของวรรณะพราหมณ์ หรือบัณฑิตผู้สำเร็จวิชาพระเวทอันเรืองฤทธิ์ และสายลูกประคำแห่งจักรวาล ทรงสังวาลย์ พาหุรัด ทองพระกร พระภูษาอาภรณ์ รัดประคด ปั้นเหน่ง ผ้าชายไหวงามระยับวิจิตรพิสดารไปทั้งองค์ เป็นศิลปะศรีวิชัยอันเป็นสัญลักษณ์แห่งวรรณะกษัตริย์ ด้วยเหตุนี้ งามรังสรรค์รูปประติมากรรม พระโพธิสัตว์นาคปรก 9 เศียร ปางขัดสมาธิเพชร สูง 63 ซม. ซึ่งได้ความหมายที่เป็นมงคลยิ่ง นับเป็นเวลากว่าพันปีแล้วก็ยังไม่มีอาณาจักรใด สามารถสร้างสรรค์รูปประติมากรรมให้สง่างามอย่างหาที่เปรียบมิได้เหมือยอย่างสมัยศรีวิชัย ไม่เฉพาะแต่ความงามเป็นเลิศเท่านั้น รูปพระโพธิสัตว์ศรีวิชัยยังแฝงไปด้วยความศักดิ์สิทธิ์ของกษัตริย์ผู้พากเพียรบำเพ็ญบารมีจนบรรลุธรรมพุทธภาวะ เพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลผู้ที่ตกทุกข์ยากเดือดร้อนในการดำรงชีวิต ให้บังเกิดความร่มเย็นเป็นสุขได้รับในสิ่งที่ปรารถนา และยังคงห่วงใยปกป้องรักษาบ้านเมือง คอยช่วยเหลือผู้คนเมื่อได้รับคำวิงวอน จากทุกข์ภัยธรรมชาติ โรคภัยพิบัติ การเงิน การงาน สุดแล้วแต่มวลมนุษย์จะร้องขอ

 

เหรียญประโพธิสัตว์พังพะกาฬ



พระเทวโพธิสัตว์พังพะกาฬ องค์ราชันดำจตุคามรามเทพ เทวโพธิสัตว์แห่งอดีตบูรพกษัตริยาธิราชเจ้าทรงฤทธานุภาพยิ่งใหญ่เหนือสิ่งทั้งปวง เทพผู้สถาปนา กรุงศรีธรรมโศก ศูนย์กลางแห่งศรีวิชัยในปลายพุทธศตวรรษที่ 8 องค์จตุคามรามเทพทรงมานะพยายาม มุ่งปฏิบัติธรรมจนบรรลุโพธิญาณในชั้น จักรวาลพรหมโพธิสัตว์ ประกอบด้วย บุญฤทธิ์ อิทธิฤทธิ์ อภิหาร สยบฟ้า สยบดินได้ดังใจปรารถนา วาจาเป็นประกาศิตเหนือมวลชีวิตทั้งหลาย ตัดกระแสแสงเดือนดาวได้ตามคัมภีร์ จึงทรงศักดาอานุภาพเหมือนดังพระอาทิตย์และพระจันทร์ สมญานามตามศาตร์ จันทรภาณุ เพียงมนตราอาคมอันเกิดจากกระแสญาณสมาธิอันแรงกล้า สาปแช่งศัตรูผู้ใดก็จะถึงกาลพินาศเหมือนดังปาฏิหาริย์ ยิ่งกว่าท้าวกุเวรราชในคัมภีร์พระเวทเลื่องลือกล่าวขานไปทั่วทวีป ได้รับการถวายนาม ยกย่องว่า โพธิสัตว์พังพะกาฬ นัยหนึ่งจากบันทึกตำราองค์พ่อจตุคามรามเทพ บุคคลใดก็ตามที่ได้เหรียญดวงตราโพธิสัตว์พังพะกาฬรูปพญาราหูอมจันทร์ทั้ง 8 เรียงรายเป็นวงกลมอยู่เบื้องหลัง ถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหนือทุกสิ่งทั้งปวง คุ้มครองสรรพอันตรายดุจดังเทพศาสตราวุธช่วยพลิกผันดาวบาป เคราะห์ร้ายให้เสื่อมฤทธิ์ เกื้อกูลดวงชะตา การงาน อาชีพ ให้มั่งคั่งตามวาสนา ด้วยอำนาจมรตราสมาธิขององค์จักรวาลพรหมโพธิสัตว์ กำหนดดั่งใจปรารถนา

คำว่า อุจจ์ แปลว่า จรขึ้นสูง หมายความว่า เป็นพระเคราะห์ทรงอานุภาพสูงสุดในตำแหน่งของดวงดาวนั้น ชะตาจะเด่นสูงส่งในทางเจริญรุ่งโรจน์ของชีวิต อุดมสมบูรณ์ไปด้วยโภคทรัพย์ - สมบัติ พร้อมตำแหน่งยศฐาบรรดาศักดิ์ และช่วยป้องกันอุบัติเหตุภยันตรายต่างๆ เรียนวิชาอาคมก็เข้มขลังนักแล (๑) ดาวอาทิตย์ : เป็นมหาอุจจ์ในราศีเมษ มีบุญวาสนาสูงเกียรติยศชื่อเสียงปรากฎได้ดีกว่าวงศ์ตระกูล มีอำนาจดังราชสีห์ มีความรู้มาก ทรัพย์สินเงินทองล้นหลาม (๒) ดาวจันทร์ : เป็นมหาอุจจ์ในราศีพฤษ เป็ฯที่รักแก่คนทั่วไป มีเสน่ห์ อายุยืน บริวารมาก (๓) ดาวอังคาร : เป็นมหาอุจจ์ในราศีมังกร วาจากล้าโวหาร มีความกล้าเป็นผู้นำเด็ดขาด มีอำนาจทางราชการ บริบูรณ์ด้วยโภคทรัพย์ มีชื่อเสียงดี (๔) ดาวพุธ : เป็นมหาอุจจ์ในราศีกันย์ รูปร่างงดงามมีเสน่ห์ ความรู้ดี มีความสุขสมบูรณ์ (๕) ดาวพฤหัส : เป็นมหาอุจจ์ในราศีกรกฎ มีปัญญารอบรู้ในวิชาการ คุณธรรมสูง มีกำลังไมตรี (๖) ดาวศุกร์ : เป็นมหาอุจจ์ในราศีมีน มีทรัพย์มากมาย รอบรู้ทางธรรม กริยาสุภาพ (๗) ดาวเสาร์ : เป็นมหาอุจจ์ในราศีตุล มีอำนาจวาสนามาก อายุยืน จิตใจกล้าแข็ง ชนะศัตรู (๘) ดาวราหู : เป็นมหาอุจจ์ในราศีพิจิก มีอำนาจยิ่งใหญ่ เกียรติยศชื่อเสียงดี มีโชคลาภ

เหรียญพระโพธิสัตว์พังพะกาฬ



เนื้อทองคำ สมนาคุณ เนื้อพระบูชา 3 เหรียญ เนื้อ PINK GOLD สมนาคุณ เนื้อพระบูชา 3 เหรียญ





พิธีเททองหล่อในฤกษ์ ปลุกเสกฉนวนมวลสารโลหะธาตุ ณ มณฑลพิธี หาดทรายแก้ว วัดพระมหาธาตุ จ.นครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2549



คุณสัมพันธ์ ทองสมัคร อดีต รมว.ศึกษาธิการ ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีบวงสรวง โดยมีพราหมณ์ยศ โกมลเวทิน กองพิธีสำนักพระราชวังเป็นผู้อ่านโองการ ครั้งแรกในพิธีสายจตุคามรามเทพที่เซียนใหญ่ของประเทศรวมตัวในพิธีครั้งนี้

ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ที่ได้จัดทำพิธีเททองหล่อองค์จตุคามรามเทพ ณ มณฑลพิธีหาดทรายแก้ว



พระเกจิอาจารย์สายเขาอ้อ นั่งปรกในพิธี 8 รูป



การรวบรวมมวลสารศักดิ์สิทธิ์ ครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในการจัดสร้างสายองค์จตุคามรามเทพ

คันฉ่องจีนโบราณ คันฉ่องจีนโบราณ เริ่มมีการสร้างขึ้นตั้งแต่คริสตศักราช โดยนำเอาโลหะชั้นเยี่ยมทองสัมฤทธิ์และปรอทเป็นส่วนผสมในการหล่อ ลวดลายดูแปลกและแฝงไว้ด้วยศาสตร์อันมีความหมาย ด้านหนึ่งจะปรากฎลวดลายตรงกลางและมีรูสำหรับร้อยเชือก อีกด้านหนึ่งเรียบเป็นมันวาวเหมือนกระจก แทบไม่น่าเชื่อว่าคนจีนในยุค 2000 - 3000 ปีก่อน จะสร้างสรรค์งานคันฉ่องได้ดีเช่นนี้เคียงคู่วัฒนธรรมจีนตลอดเรื่อยมา เมื่อสิ้นราชวงศ์ใดก็ตามก็จะมีการตั้งจักรพรรดิ์ผู้ครองแผ่นดินขึ้นใหม่ และจะมีการสร้างคันฉ่องประจำราชวงศ์ขึ้นทุกครั้ง ลวดลายก็จะเปลี่ยนไปตามรูปแบบที่ได้กำหนด สันนิษฐานได้ว่ายุคโบราณก็มีแบบอย่างการจัดสร้างที่ดีเช่น การสร้างกริ่งจีนโบราณ, กริ่งจีนบาเก็ง และกริ่งจีนหลายรูปแบบ คันฉ่องก็มีความศักดิ์สิทธิ์ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน ก่อนจะส่งทูตเพื่อเจริญสัมพันธไมตรีจักรพรรดิ์ทรงนำคันฉ่องมาฉายพระพักตร์ก่อนมอบให้ฑูตานุฑูต เพื่อติดตัวระหว่างเดินทางเจริญสัมพันธไมตรีกับต่างชาติ เชื่อกันว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก ช่วยปกป้องและคุ้มครอง ผู้ครอบครองคันฉ่องให้รอดพ้นจากภัยพิบัติทั้งปวง และยังถือว่าผู้ที่ได้พบเห็นคันฉ่องเป็นเสมือนได้เห็นองค์จักรพรรดิ์ยังต้องก้มลงคารวะทันที ธรรมเนียมประเพณีการสร้างคันฉ่องของกษัตริย์จีนโบราณสอดคล้องกับความหมายมงคงทั้ง 4 คือ ความยิ่งใหญ่ ความสุข ความมั่งคั่ง และความมีชีวิตอันยืนยาว ปัจจุบันคันฉ่องเป็นของมงคลสูงค่ายิ่ง หาได้ยาก นานๆ จะพบเจอะเจอสักครึ้งหนึ่ง มูลค่าราคาค่อนข้างสูงมาก บางชิ้นคงสภาพสมบูรณ์ราคาเรือนหมื่นเรือนแสนถึงหลักล้านเลยทีเดียว ต่างประเทศ เช่น สวิตเซอร์แลนด์ เยอรมัน ปารีส อเมริกา และแถบยุโรป ในพิพิธภัณฑ์มักจะมีคันฉ่องของจักรพรรดิ์จีนโบราณแสดงโชว์อยู่ด้วย ซึ่งชาวต่างชาติกลับรู้ข้อมูลความละเอียดอ่อนและความลี้ลับของคันฉ่องเป็นอย่างดี มูลเหตุในการนำคันฉ่องจีนโบราณมาเป็นส่วนผสมของมวลสารโลหะหลักในการจัดสร้างวัตถุมงคลชุดนี้ สืบเนื่องมาจากคันฉ่องจีนเปรียบเสมือนองค์ตัวแทนจักรพรรดิ์ มีความศักดิ์สิทธิ์สูงค่ายิ่ง ผู้ครอบครองจะมีเพียงเชื้อราชวงศ์และขุนนางในราชสำนักเท่านั้น ซึ่งองค์พ่อจตุคามรามเทพมีของสำคัญประจำการอยู่ 4 สิ่ง หนึ่งในนั้นก็คือคันฉ่องจีนโบราณ จากความเชื่อในเรื่องของการสื่อหรือการประกอบพิธีการใด เพื่อจะเชิญหรือติดต่อกับองค์พ่อจะต้องใช้ของสำคัญนี้ทุกครั้ง ตำราบางเล่มกล่าวว่า คันฉ่องจีนเปรียบเสมือนวีซ่า (สื่อ) ใช้สำหรับติดต่อกับองค์พ่อและเป็นสัญลักษณ์แห่งองค์พ่อจตุคามรามเทพ เมื่อผสมผสานหลอมคันฉ่องจีนและแร่มวลสารธาตุศักดิ์สิทธิ์สำคัญๆ จะทำให้วัตถุมงคลเหล่านั้นมีอานุภาพสูงด้วยบุญญฤทธิ์ สมดั่งเจตนาอธิฐานมนตรา อาถรรพ์แห่งองค์พ่อจตุคามรามเทพช่วยส่งเสริมเกื้อหนุนดวงชะตาให้ประสบความเจริญรุ่งเรืองและคุ้มครองปกป้องให้พ้นภัยพิบัติทั้งปวง

ยอดเศียรหลักเมือง จตุคามรามเทพ พิมพ์ใหญ่



ยอดเศียรหลักเมือง จตุคามรามเทพ พิมพ์เล็ก

ยอดเศียรหลักเมือง จตุคามรามเทพ องค์จตุคามรามเทพ มีบริวารเป็นทหารกล้าสี่คน ได้แก่ พญาชิงชัย พญาหลวงเมือง พญาสุขุม และพญาโหรา เป็นกำลังหลัก ในการปราบพวกพราหมณ์ที่ปกครองเมืองตามพรลิงค์อยู่ก่อน เมื่อได้บ้านเมืองแล้วก็ได้สร้างพระบรมธาตุฯ สถาปนาเมืองสิบสองนักษัตรหรือกรุงศรีธรรมโศก ฝังรากฐานพระพุทธศาสนาอย่างถาวรจนได้รับเทิดพระเกียรติว่า พญาศรีธรรมโศกราช ภายหลังท่านเป็นเทวดารักษาเมือง สิงสถิตอยู่ ณ รูปจำหลักที่บานประตูไม้ทั้งสองที่ทางขึ้นลานประทักษิณรอบองค์พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช ส่วนบริวารทั้งสี่ก็เป็นเทวดารักษาเมืองประจำทิศของเมืองเช่นเดียวกัน เมื่อสร้างหลักเมืองแล้วก็ได้อัญเชิญท่านมาสถิต ณ เสาหลักเมืองอันงดงามดังปรากฎอยู่ ณ ปัจจุบัน ส่วนเทวดารักษาเมืองโดยรอบเสาหลักเมือง - ระดับล่าง ทิศเหนือท้าวกุเวร ทิศตะวันออกท้าวธตรฐ ทิศใต้ท้าววิรุฬหก ทิศตะวันตกท้าววิรูปักษ์ - ระดับกลาง จุโลกเทพ คือ พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง พระพรหมเมือง และพระบันดาลเมือง - ระดับสูง เป็นไปตามคติพระพุทธเจ้าห้าพระองค์ในจักรวาลของพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน คือ พระไวโรจนพุทธเจ้าอยู่ตรงกลาง พระอักโษภยพุทธเจ้าอยู่ด้านตะวันออก พระอมิตรภะพุทธเจ้าอยู่ด้านตะวันตก พระรัตนสมภพพุทธเจ้าอยู่ด้านทิศใต้ และพระอโมฆะสิทธิพุทธเจ้าอยู่ด้านเหนือ ยอดเศียรองค์จตุคามคามรามเทพ หรือ เทวดารักษาเมือง ถือเป็นเศียรรุ่นแรก ที่เป็นรูปแบบรูปหน้าองค์จตุคามรามเทพทั้ง 4 ด้าน โดยจำลองเศียรจากบานประตูไม้จำหลักขนบันไดทางขึ้นลานประทักษิณองค์พระบรมธาตุเจดีย์ รูปแบบวิจิตรพิศดาร ปรากฎรูปหน้าองค์จตุคามรามเทพ 2 ชั้น รวม 8 หน้า บนและล่าง ส่วนบนสุดคือ ยอดชัยหลักเมือง ใต้ฐานบรรจุผงปี 30 และมวลสารศักดิ์สิทธิ์อีกมากเหลือจะพรรณนา ผู้ใดครอบครองบูชาองค์ยอดเศียร เปรียบเสมือนองค์พ่อคอยปกปักษ์รักษาแก้วทั้ง 8 ชั้น บันดาลสิ่งลาภผลดังใจปรารถนาทางดีทางได้ตลอดเวลา

มวลสารฉนวนโลหะ - ยอดปราสาทเก่า ยอดเจดีย์ ยอดพระบาท ยอดมณฑป ยอดธงชัย - โลหะจากยอดพระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช (ยอดปลีทองคำ) เมื่อครั้งบูรณะซ่อมแซม เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2537 - ชนวนองค์บูชาพระโพธิสัตว์พังพะกาฬ นาคปรก 7 เศียร รุ่นแรก ปี 32 - เหรียญปิดตาพังพะกาฬ ปี 32 - เหรียญแสตมป์ เศียรพ่อ เหรียญนาคปรก ปี 30 - คันฉ่องโบราณราชวงศ์ต่างๆ 5 อัน - พระบูชานารายณ์ทรงครุฑและเทพต่างๆ ที่ชำรุดสมัยบายน ขอมโบราณ เป็นจำนวนมาก - ชนวนโลหะ สัมฤทธิ์เก่า เกศพระพุทธรุปเครื่องมงคลโบราณต่างๆ มวลสารศักดิ์สิทธิ์ พีธิปี 30 - ผงแป้งเจิมเสาหลักเมืองนครฯ ปี 30 พิธีเปิดเนตรหลักเมือง 5 มีนาคม 2530 - ผงหัวเชื้อสุริยัน ผงหัวเชื้อจันทรา - ผงพระพุทธสิหิงค์สีขาว - ผงพระพุทธสิหิงค์สีดำ - ผงพระพุทธสิหิงค์สีแดง - ผงพระพุทธสิหิงค์มีไม้ดำ - ผงไม้ค้ำฟ้าปี 30 - ผงไม้ตะเคียนเสาหลักเมือง ปี 30 - สีผึ้งหลักเมืองนครปี 30 - ชนวนนวโลหะจตุคามลอยองค์ ปี 32 - ชนวนโลหะพระบูชานาคปรก 7 เศียร รุ่นแรก ปี 32 - ชนวนโลหะทองแดง เหรียญเศียรพ่อ ปี 30 - ผงทองคำเสาหลักเมืองนครศรีธรรมราช - ตระไคร่องค์พระธาตุ วัดมหาธาตุ นครศรีธรรมราช - ดินใต้พระธาตุ - ดินที่กระถางธูป วัดมหาธาตุ - ดินกระถางธูปเสาหลักเมือง

มวลสารศักดิ์สิทธิ์ ผงตะไบ ฉนวนโลหะและผงวิเศษจากสถานที่ต่างๆ นำมาบรรจุใต้ฐานยอดเศียรเสาหลักเมือง - ยอดปราสาท - ยอดเจดีย์ - ยอดพระธาตุ - ยอดธงชัยเฉลิมพล - เทียนชัยพิธีพุทธาภิเษก 38 ท่อน 38 พิธี ขนาดท่อนละ 1 นิ้ว - โลหะจากยอดพระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช เมื่อครั้งบูรณะซ่อมแซมเจดีย์ (ยอดปลีทองคำ) โลหะบนยอดพระบรมธาตุ ประกอบด้วย สัมฤทธิ์ ดีบุก ทองแดง - โลหะชนวนเก่า ของวัดเขาอ้อ - โลหะชนวนเก่า ของวัดดอนศาลา - โลหะชนวนหล่อพระปิดตาแหลมทราย สงขลา - โลหะจากพิธีหล่อพระต่างๆ โลหะกั่นต่างๆ 108 ชิ้น - ผงปูนบนยอดเจดีย์พระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช - ผงตะไคร่เจดีย์บัว หลวงปู่ทวดวัดช้างให้ปัตตานี - ผงตะไคร่เจดีย์วัดพะโคะ สงขลา - ผงตะไคร่เจดีย์พระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช - ผงตะไคร่หลักเมืองเก่า เขาเมือง พัทลุง - ผงหลวงปู่ทวด วัดช้างให้ ปี 2497 - ผงขมุดำ ตำราสมุดข่อย และขมุใบลาน ผงพระดินดิบอายุกว่า 2000 ปี จากถ้ำต่างๆ - ผงแตกหัก กรุท่าเรือ นครศรีธรรมราช - ผงแตกหัก กรุนางตรา นครศรีธรรมราช - ผงพระมหาว่าน ของอาจารย์เอียด วัดดอนศาลา พัทลุง - ผงพระมหาว่าน ของอาจารย์นำ วัดดอนศาลา พัทลุง - ผงพระรุ่นยอดขุนพล วัดบรมธาตุ นครศรีธรรมราช ปี 2497 - ผงพระภูทวารวดี ปี 2505 - ขมุใบโพธิ์ลังกา ต้นเดิม วัดพระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช - ขมุใบโพธิ์ วัดพะโคะ สงขลา - ขมุใบโพธิ์ วัดช้างให้ ปัตตานี - ผงดินรอยเท้าหลวงปู่ทวดเหยียบบนดิน ที่วัดพะโคะ สงขลา - ดินยอดเขามหาชัย นครศรีธรรมราช - ดินทรายทอง ถ้ำน้ำเย็น เขาชัยสน พัทลุง - ดินถ้ำฉัตฑัณ วัดเขาอ้อ พัทลุง - ดินถ้ำนางคลอด วัดเขาอ้อ พัทลุง - ดินยอดเขาอ้อ พัทลุง - ดินยอดเขาวัง เพชรบุรี - ดินที่ฝังรกหลวงปู่ทวด สำนักสงฆ์ต้นเรียบ สทิงพระ สงขลา - ดินที่บ้านเกิดหลวงปู่ทวด สำนักสงฆ์ต้นเรียบ สทิงพระ สงขลา - ดินยอดเขาวัดพะโคะ สงขลา - ดินวัดช้างให้ ปัตตานี - ดินกากยายักษ์ เขากะทะ ลำพะยา ยะลา - ผงไม้คนธีดำ เขาชัยสน พัทลุง - ผงต้าเต่าร้างแดง เพชรหน้าทั่ง เขาหลวง นครศรีธรรมราช - ผงต้นตีนเป็ด เพชรหน้าทั่ง คีรีวง นครศรีธรรมราช - หินส้มแดง วัดถ้ำเขาแดง พุทลุง - หินส้มเขียว อ.ขนอม นครศรีธรรมราช - ผงขี้ธูปหน้าบัว อาจารย์วัดดอนศาลา พัทลุง - ผงขี้ธูปหน้าบัว อาจารย์วัดเขาอ้อ พัทลุง - ดินปักกลดหลวงปู่ทวด หลังโบสถ์ วัดพัทสีมา นครศรีธรรมราช - ดินปักหลดหลวงปู่ทวด บ้านโกฏิ ปากพนัง นครศรีธรรมราช - หินขี้เหล็กไหล ถ้ำเจ้าพ่อดำ วังหอนชะอวด นครศรีธรรมราช - ขนมโคคนธรรพ์ ถ้ำเจ้าพ่อขา วังหอนชะอวด นครศรีธรรมราช - ผงสำเร็จมหาราช พ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน นครศรีธรรมราช - ผงสำเร็จปถมัง อาจารย์นำ วัดดอนศาลา พัทลุง - ผงสำเร็จเมตตา อาจารย์หนูห่วง ท่าศาลา นครศรีธรรมราช - ผงสำเร็จ วัดเขาราหู อ.คีรีรัฐนิคม สุราษฎร์ธานี - ผงพระกรุเก่าต่างๆ ทั่วประเทศที่เก็บสะสมไว้



- วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2549 ตรงกับวันมาฆบูชา เวลา 09.59 น. เป็นฤกษ์เวลาอันเป็นมงคล คณะผู้จัดสร้างประกอบพิธีเททองหล่อองค์บูชาจำลองจตุคามรามเทพ นาคปรก 9 เศียร เนื้อบรอนซ์เป็นปฐมฤกษ์ จำนวน 60 องค์ โดยพระธรรมวราจารย์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นประธานในพิธี พราหมณ์ยศ โกมลเวทิน กองพระราชพิธีสำนักพระราชวัง อ่างโองการเริ่มพิธี

วันที่ 1 เมษายน 2549 ประกอบพิธีเททองหล่อองค์พระบูชาจำลององค์จตุคามรามเทพ นาคปรก 9 เศียร และพิธีปลุกเสกฉนวนหล่อแทงฉนวนโหละธาตุ ที่จะนำมาจัดสร้างเหรียญพระเทวโพธิสัตว์พังพะกาฬ และยอดเศียรหลักเมือง จตุคามรามเทพ ณ มณฑลพิธี หาดทรายแก้ว วัดพระมหาธาตุ จ.นครศรีธรรมราช โดยพระราชธรรมสุธี เจ้าอาวาส วัดพระมหาธาตุ เป็นประธานในพิธี และพระเกจิอาจารย์สายเขาอ้อ นั่งปรกในพิธี 8 รูป 1. พระธรรมวราจารย์ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ 2. พ่อท่านคล้อย วัดภูเขาทอง พัทลุง 3. พ่อท่านช่วง วัดควนปันตาราม พัทลุง 4. พ่อท่านพรหม วัดบ้านสวน พัทลุง 5. พ่อท่านเหวียน วัดพิกุลทอง พัทลุง 6. พ่อท่านพระมหาอุทัย วัดดอนศาลา พัทลุง 7. พระอาจารย์เอียด วัดโคกแย้ม พัทลุง 8. พระอาจารย์รรรศิริ วัดบ้านสวน พัทลุง

วันที่ 19 มิถุนายน 2549 ประกอบพิธีมังคลาเทวาภิเษกครั้งยิ่งใหญ่แห่งประวัติกาล ณ เทวสถานยอดเขาปราสาทพนมรุ้ง จ.บุรีรัมย์ จุดกำเนิดพลังเทพอันศักดิ์สิทธิ์ โดยเกจิอาจารย์สายอีสาน 8 รูป 1. หลวงปู่หงส์ พรหมปัญโญ วัดเพชรบุรี สุรินทร์ 2. หลวงปู่ธรรมรังษี วัดพระพุทธบาทเขาพนมดิน จ.สุรินทร์ 3. หลวงปู่เหลือง วัดกระดึงทอง บุรีรัมย์ 4. หลวงปู่ผาด วัดบ้านกรวด บุรีรัมย์ 5. หลวงตาพวน วรมังคโล วัดมงคลรัตน์ สุรินทร์ 6. หลวงตาคีย์ กิตติญาโณ วัดศรีลำยอง สุรินทร์ 7. หลวงพ่อไสว วัดเขาพนมรุ้ง บุรีรัมย์ 8. หลวงพ่อปึก วัดบ้านจกรู สุรินทร์

แผ่นทองรูปดอกบัวบาน ขุดพบได้ที่บริเวณปรางค์ประธาน เมื่อครั้งบูรณะปราสาทพนมรุ้งปี 2525 - 2529 (ขนาด 11.8x11.8 ซม. น้ำหนัก 17.1 กรัม) รูปสี่เหลี่ยมจตุรัส จุดกึ่งใจกลางล้อมรอบด้วยเกสร 8 วง อนุมานเท่ากำลังพระราหู และกลีบดอกบัวบาน 8 กลีบ ที่บานสะพรั่งสุดกำลังเสมือนความอุดมสมบูรณ์ ความเจริญรุ่งเรือง ก่อเกิดพลังเกื้อกูลความสุข ความั่งคั่งความีชีวิตที่ยืดยาว ได้จำลองดอกบัวบาน 8 กลีบ ตีตราตรึงสัญลักษณ์กำหนดที่องค์บูชาจตุคามรามเทพ ปรก 9 เศียร เหรียญพระเทวโพธิสัตว์พังพะกาฬ และยอดเศียรหลักเมืองจตุคามรามเทพ ในสิ่งมงคล รุ่น ปรกเกล้า ทุกองค์