ศูนย์พระเครื่องจตุคาม

ดูรายการวัตถุมงคล  

รุ่นบันดาลโชคลานสะกา



ความเป็นมา จากตำนานพระเจ้าศรีธรรมโศกราชของวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ว่าประมาณ พ.ศ. 1700 - 1800 เมืองนครศรีธรรมราชมีกษัตริย์ 3 พี่น้อง พระเชษฐาที่ครองราชย์ทรงพระนามว่า พระศรีธรรมโศกราช องค์รองชื่อ จันทรภาณุ ซึ่งเป็นพระนามฐานันดรตำแหน่งอุปราช องค์สุดท้ายทรงพระนามว่า พงษาสุระ (ทุกพระองค์เมื่อขึ้นครองราชย์จะใช้พระนาท พระศรีธรรมโศกราช) ในช่วงกษัตริย์สามพี่น้องขึ้นครองราชได้สร้างความเจริญรุ่งเรืองมาก ทั้งทางอาณาจักร และศาสนจักรโดยได้ครอบครองเมืองต่างๆ ตลอดจนแหลมมาลายู ซึ่งเรียกว่า เมืองสิบสองนักษัตร และใช้รูปดอกบัวเป็นตราประจำเมือง นอกจากนี้พระเจ้าศรีธรรมโศกราชยังได้บูรณะเสริมสร้างพระบรมธาตุเจดีย์ ซึ่งเดิมแบบศรีวิชัย ให้เป็นไปตามแบบลังกา โดยก่อสถูปแบบลังกาครอบเจดีย์เดิม เมื่อสิ้นสมัยกษัตริย์สามพี่น้องเมืองนครศรีธรรมราชและเมืองต่างๆ ในคาบสมุทรแหลมสุวรรณภูมิก็รวมตัวกัน มีพระราชาเป็นผู้ครอบครองประเทศ ต่อมาในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ผู้ครองกรุงสุโขทัยประมาณ พ.ศ. 1815 - 1865 ได้มีการบูรณะและสร้างระเบียงรอบองค์พระบรมธาตุ การทำกำแพงรอบทั้ง 4 ด้าน การสร้างวิหารติดกับเจดีย์องค์ใหญ่ซึ่งเรียกว่าวิหารสามจอม และในเวลาต่อมาได้มีการสร้างพระพุทธรูปแทนองค์พระเจ้าศรีธรรมโศกราช เพื่อประดิษฐานไว้ในวิหารสามจอม และมักเรียกวิหารหลังนี้ว่า วิหารพระศรีธรรมโศกราช ในสมัยพระเจ้าศรีธรรมโศกราช ได้เกิดไข้ห่าระบาดหนักหลายๆ ครั้ง พระองค์ต้องอพยพข้าราชบริพาร และผู้คนจำนวนหนึ่ง เพื่อหนีไข้ห่า ตามหลักฐษนปรากฎว่าได้เสด็จที่ลานสะกา และสถานที่ประทับคือ วังโบราณลานสะกาแห่งนี้ โดยพระองค์ได้คิดหาวิธีการกำจัดไข้ห่า โดยเอาปรอทมาหุงขัดยาทำเป็นหัวนอโมหว่านไปทั่วเมืองเพื่อป้องกันไข้ห่า จนสุดท้ายไข้ห่าหมดไปหรือน้อยมาก พระองค์จึงเสด็จกลับประทับที่เมืองนครศรีธรรมราชเป็นกาถาวร สถานที่ตรงนี้จึงก่อตั้งขึ้นเป็นวัดก็คือวัดน้ำรอบ (แห่งแรก) มีพระพุทธคำเพียร เป็นเจ้าอาวาส รูปแรกต่อมาพระรอด ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสรูปสุดท้ายได้ย้ายวัดมาสร้างในสถานที่แห่งใหม่ ชื่อวัดโคกพูน เพราะสถานที่เดิมมีพื้นที่น้อยประกอบกับมีน้ำล้อมรอบ ไม่สามารถขยับขยายได้ สถานที่ตรงนี้จึงเป็นวัดร้าง ดังนั้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2510 พระท่านครูขาบ ฐิตสํวโร เจ้าอาวาสวัดน้ำรอบ (แห่งที่ 2) ได้ร่วมกับคณะพุทธบริษัทของวัดได้บูรณะขึ้นมาใหม่โดยมี นายแนบ ขุนทรานนท์ได้นำพระพุทธรูปปูนปั้นจำลองของพระเจ้าศรีธรรมโศกราช มาประดิษฐานไว้เมื่อ พ.ศ. 2514 ซึ่ง พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดชได้เล่าให้ผู้ใกล้ชิดฟังว่าได้มีผู้มีอันจะกินและผู้มีจิตศรัทธาจากในตัวเมืองนครศรีธรรมราชเป็นผู้สร้างถวายตามที่หม่อมเจ้าวิภาวดีรังสิตได้แนะนำโดยได้จำลองแบบมาจากพระพุทธรูปพระเจ้าศรีธรรมโศกราชในวิหารสามจอม ของวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เพื่อต้องการให้บริเวณแห่งนี้เป็นอนุสรณ์เตือนใจสำหรับคนรุ่นต่อไปว่า สถานที่แห่งนี้เคยเป็นที่ประทับ ของพระเจ้าศรีธรรมโศกราช ปี พ.ศ. 2518 สถานที่นี้ได้ประสบกับอุทกภัยครั้งใหญ่ พระพุทธรูปพระเจ้าศรีธรรมโศกราชก็สูญหายไปกับอุทกภัยครั้งนั้นหลังจากนั้นเป็นต้นมาชาวบ้านในละแวกใกล้เคียงได้พูดและกล่าวขานกันว่าพระเจ้าศรีธรรมโศกราชมาเข้าฝันแจ้งแก่ชาวบ้านว่าพระองค์จมอยู่ใต้น้ำนานแล้วขอให้ช่วยขุดค้นหาขึ้นมา ชาวบ้านที่เชื่อความฝัน ก็เริ่มใช้เสียม ใช้จอบขุด และหาวิธีต่างๆ ตามแต่ภูมิปัญญาของชาวบ้านจะหาได้แต่ก็ยังขุดค้นหาพบไม่ จนกระทั่ง วันที่ 14 มกราคม 2546 พระครูนิวิฐธรรมรักษ์ นายเอียด ศรีสุรางค์ นายชุม ศรีแฉล้ม และนายเลิศชัย ศรีแฉลิม ได้นัดประชุมราษฎรหมู่ที่ 3 และหมู่ที่ 6 ตำบลลานสะกา อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อปรึกษาหารือการขุดค้น ที่ประชุมลงมติเป็นเอกฉันท์ให้ขุดค้นหาพระพุทธรูปพระเจ้าศรีธรรมโศกราช โดยในระยะแรก นายเลิศชัย ศรีแฉล้มได้ใช้งบประมาณส่วนตัวเป็นค่าจ้างรถแบคโฮ มาดำเนินการขุดค้นหาได้เกิดปรากฏการณ์ชี้นำหลายประการ นอกเหนือความคาดหมายต่อผู้พบเห็นเป็นอย่างยิ่ง จนกระทั่งได้พบชิ้นส่วนของพระพุทธรูปในตอนเย็นของวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2546 ซึ่งสร้างความปลาบปลื้มยินดีเป็นอย่างยิ่งและมีผู้คนได้แห่กันมาชื่นชม แสดงความยินดีต่อผู้ปฏิบัติงานกันอย่างเนืองแน่น ทั่วทั้งบริเวณ

ในที่ประชุมครั้งต่อมาหัวหน้าคณะสงฆ์อำเภอลานสะกา หัวหน้าหน่วนราชการ ครูอาจารย์ชาวบ้านและผู้มีจิตศรัทธาได้ลงมติให้สร้างพระพุทธรูปขึ้นมาใหม่ โดยมีหน้าตักกว้าง 30 นิ้ว สูง 2.5 เมตร และจะจัดสร้างอาคาร เพื่อเป็นที่ประดิษฐานให้สมพระเกียรติ และบูรณะฟื้นฟูที่วังโบราณลานสะกาหมู่ที่ 6 ตำบลลานสะกา อำเภอลานสะกาจังหวัดนครศรีธรรมราช วันที่ 1 กรกฎาคม 2546 เวลา 11.00 น. ได้ขุดค้นพบแทนศิลา ที่ประทับขนาดใหญ่ของพระเจ้าศรีธรรมโศกราช (การขุดค้นพบแท่นศิลาที่ประทับนี้มาจากการเข้าฝัน) พร้อมกันนี้ท่านพล.ต.ต.ขันพันธรักษ์ราชเดช ได้มีเมตตาเข้ามาช่วยเหลือ รับเป็นประธานจัดสร้างพระพุทธรูปบูชาและวัตถุมงคล โดยได้รับมอบแผ่นยันต์ลงอักขระ และมวลสารจากสถานที่ศักดิ์สิทธิ์หลายแห่งที่ท่านได้สะสมไว้ตลอดชีวิตของท่านให้กับชาวลานสะกา ในอดีตท่านพล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช ได้เข้ามาทำพิธีกรรมต่างๆ ในบริเวณสถานที่แห่งนี้เป็นประจำ จนมีความผูกพันเรื่อยมา วันที่ 7 สิงหาคม 2546 ชาวลานสะกา และผู้มีจิตศรัทธาได้ร่วมกัน จัดงานสมโภชทองนำฤกษ์ที่พระวิหารหลวงวัดพระธาตุวรมหาวิหารนครศรีธรรมราช และจัดขบวนแห่สู่วังโบราณลานสะกาเพื่อทำพิธีเจริญพระพุทธมนต์ วันที่ 8 สิงหาคม 2546 ได้ทำพิธีบวงสรวงดวงวิญญาณพระเจ้าศรีธรรมโศกราช หลวงปู่ขาบ ฐิตสํวโร และทำพิธีเททองหล่อโดยมีพระครูเรวัต ศิลคุณ(หลวงปู่สังข์) วัดดอนตรอ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครศรีธรรมราช พร้อมด้วยพระเกจิอาจารย์นั่งปรกแผ่เมตตาจำนวนมาก คณะกรรมการจัดสร้างได้ดำเนินการภายในคำแนะนำของ พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช อย่างเคร่งครัดทุกขั้นตอน ตั้งแต่การทำพิธีบวงสรวงขอต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์และครูบาอาจารย์การทำพิธีเททองที่วังโบราณลานสะกาอย่างยิ่งใหญ่ การช่วยกันหามวลสาร, ว่านยาที่สำคัญ, ผงภาชนะที่คนโบราณใช้สอยที่ขุดได้ในบริเวณวังโบราณลานสะกา นำมาประกอบเป็นมวลสาร เพื่อผสมทำวัตถุมงคล โดยมีขั้นตอนที่สำคัญ คือ การตำผงมวลสารมีพระสงฆ์ 9 รูป สวดพระพุทธมนต์ การเจิมแม่พิมพ์ การวางผงและการกดพิมพ์ ด้วยเหตุนี้การจัดสร้างวัตถุมงคลรุ่นนี้จึงต้องใช้ระยะเวลาที่ยาวนาน อันเนื่องมาจากการสรรหามวลสารที่ดีที่สุด การหาฤกษ์ยามที่ดีที่สุด การกำหนดสถานที่เพื่อประกอบพิธีโดยที่คณะกรรมการจัดสร้าง และชาวลานสะกา มีความตระหนักเพื่อปรารถนาที่จะให้ท่านผู้มีจิตศรัทธาและบริจาคทรัพย์ ได้รับวัตถุมงคลที่มีคุณค่าไว้เป็นที่ระลึกเพื่อเคารพบูชาที่มากด้วยพุทธคุณ และความหมายความเป็นมาทางประวัติศาสตร์เป็นสำคัญ ในการจัดสร้างวัตถุมงคลครั้งนี้ เกิดจากจิตใจของชาวลานสะกาที่มีความบริสุทธิ์ มีความผูกพันความศรัทธา ความกตัญญูต่อพระเจ้าศรีธรรมโศกราช จึงได้จัดสร้างเป็นพระพุทธรูปบูชา พระผง พระเหรียญ และตั้งชื่อวัตถุมงคลรุ่นนี้ว่า รุ่นบันดาลโชค พระเจ้าศรีธรรมโศกราช ลานสะกา เนื่องจากการที่มี ผู้เกี่ยวข้องได้ประสบโชคลาภ และความสำเร็จปรากฎให้เห็นนับครั้งไม่ถ้วน โดยกำหนดรูปแบบความหมายดังนี้

ด้านหน้า 1. ตรงกลางเป็นพระพุทธรูปแทนพระองค์ พระเจ้าศรีธรรมโศกราช 2. รัศมีรอบในเป็นกลีบบัวเล็กช้าง เป็นสัญลักษณ์ของต้นราชวงศ์ปทุม คนรุ่นหลังเรียกดอกจันทร์ 3.รัศมีรอบนอก เป็นดอกบัวตูม บัวบานไขว้ เป็นสัญลักษณ์แสดงให้เห็นถึงการจัดการปกครอง เมืองขึ้นต่างๆ ว่ามีความสามัคคีกลมเกลียวส่วนเกษรของบัวบานเป็นรูปของหัวนอโม ซึ่งหมายถึงพระเจ้าศรีธรรมโศกราชเป็นผู้สร้างหัวนอโมขึ้นครั้งแรก เพื่อเป็นเครื่องรางกันไข้ห่า 4. อักขระ 4 ตัว จะ ภะ กะ สะ เป็นธาตุประจำมนุษย์ทุกผู้ทุกนาม 5. ระหว่างดอกบัวตูมบัวบาน มีอักขระพระเจ้า 16 ตัว เป็นพระเวทคาถาของพระเจ้า 16 พระองค์ ย่อ เป็น 16 ตัว เพื่อป้องกันภัยพิบัติ

 

 

 

 

 

ด้านหลัง 1. ตรงกลาง เป็นรูปราหูอมจันทร์ รูปดังกล่าวครั้งหนึ่งเคยเป็นตราสัญลักษณ์ของกรุงศรีวิชัย แสดงถึงอำนาจ เมตตามหานิยม และความช่วยเหลือ 2. รอบราหู เป็นตรา 12 นักษัตร (เป็นชื่อบรมครูบรรพบุรุษไทยเป็นลูกชายขุนหญิงกวักทองมา) อันเป็นตราประจำเมืองต่างๆ ที่ขึ้นกับกรุงศรีวิชัย 3. กลีบบัว 16 กลีบ เป็นตราประจำราชวงศ์ปทุมและมีอักขระหัวใจพญาเต่าเรือนล้อมรอบ เพื่อป้องกันภัยต่างๆ แก่ผู้ใช้

 

 

 

 

 

 

มวลสารที่เป็นส่วนผสมประกอบด้วย 1. ผงปูนจากองค์พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช 2. ผง และคราบปูนจากองค์จริงของท้าวจัตตุคาม ท้าวรามเทพ 3. ผงพระจาก กรุท่าเรือ กรุนางตรา กรุนาสน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช 4. ผงพระจาก ชุดยอดขุนพล พ.ศ. 2497 5. ผงพระจาก ชุดพระภูทราวดี พ.ศ. 2505 6. ผงพระจาก พระมหาว่าน เขาอ้อ พ.ศ. 2485 (อินโดจีน) 7. ผงว่าน ซึ่งทำพิธีขุด และลงอักขระโดย พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช 8. ผงสำเร็จที่ชักโดยพระเกจิอาจารย์เก่าที่ พล.ต.ต.ขันพันธรักษ์ราชเดชเก็บรักษาไว้ 9. ผงพระดินเดิมจากถ้ำนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี 10. ผงพระจากกรุกำแพงเพชร กรุสุพรรณบุรี จังหวัดที่ พล.ต.ต.ขันพันธรักษ์ราชเดชรับราชการ 11. ผงอิฐ และดินจากเจดีย์วัดปุณณารามที่ตำบลคูบัว จังหวัดราชบุรี 12. ดินที่เขาสัจจะพันธ์คีรี พระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี 13. ดิน น้ำ ผงระฆังหิน จากวัดพริบพลี จังหวัดเพชรบุรี 14. คราบ และผงทองจากองค์พระพุทธฉายที่เขางู ผงพระนอนถ้ำเขางู จังหวัดราชบุรี 15. ผง และราบตะไคร่จากเจดีย์พัทธสีมา ระฆังหิน และเจดีย์ที่สลักหินปูนราหูอมจันทร์ ราชบุรี 16. ตะไคร่เจดีย์ เขาบันไดอิฐ จังหวัดเพชรบุรี 17. ดิน อิฐ และตะไคร่ จากวัดศรีสุวรรณภูมิ แดนไทย (วัดโขง) จังหวัดราชบุรี 18. ผงจากไม้ตะเคียนต้นที่นำมาแกะสลักเสาหลักเมืองนครศรีธรรมราช 19. ผงโลหะปล่องไฉนยอดพระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช 20. ผงจากไม้ที่สบายคือ ไม้กาฝากกว่าร้อยแปดชนิด

21. ผงไม้กระบก และผงไม้ที่เป็นยาสมุนไพรหลายชนิด 22. ผงเม็ดบัว ลูกกระจับ ผงจากใบบัวหลวง 8 ใบ และผงจากใบตอง 23. ผงดอกไม้มงคลที่ใช้สมโภชน์ในพิธีพุทธาภิเษกและปลุกเสกหลายสิบพิธี 24. ผงแผ่นทองคำปิดพระประธานและดอกไม้ที่ใช้บูชาพระประธานจากวัดต่างๆ 25. ผงทองคำปิดเสาหลักเมืองนครศรีธรรมราช 26. ผงจากไม้กระทุ้งฟ้า และใบพลูร่วมใจ 27. ดิน 7 ท่า, ดิน 7 โป่ง, ดิน 7 ปราบ 28. ยอดรัก และยอดสวาท 29. น้ำมนต์จากพิธีต่างๆ ผสมกับน้ำฝนกลางแจ้ง เดือนเพ็ญจันทร์ (วันเพ็ญเดือน 12 ตรงกับ วันจันทร์)

30. ผงปูนจากพระเจ้าศรีธรรมโศกราชลานสะกา ที่ขุดพบ 31. กระเบื้อง ถ้วยชามโบราณที่วังโบราณลานสะกา 32. ต้นลูกอิน - จัน ที่ลานสะกา 33. ไม้ยองอกบนตอไม้ 34. ตะไคร่จากพัทธสีมาและเปลือกหอยโบราณ วัดลานสะกาใน 35. ดินจอมปลวกในโบสถ์โบราณวัดลานสะกาใน 36. แร่ดีบุกจากวังโบราณลานสะกา 37. ดินกากยายักษ์ลำพะยา จังหวัดยะลา 38. ผงพระเครื่องเก่าๆ พระผงหลักเมืองนครศรีธรรมราช ผงอุดมโชค 8 อรหันต์สุวรรณภูมิ และผงพังพการ 39. ผงทองพระมังคุดวัดเจดีย์ 40. ผงเปลือกผลไม้ของอำเภอลานสะกา

วัตถุประสงค์การจัดสร้าง เพื่อนำรายได้มาจัดสร้างที่ประดิษฐานพระพุทธรูปพระเจ้าศรีธรรมโศกราช และบูรณะฟื้นฟูสถานที่ให้เป็นแหล่งศึกษาทางประวัติศาสตร์ สถานที่ท่องเที่ยว และเป็นศูนย์รวมน้ำใจของชุมชน





ประมวลภาพต่างๆ













































































พระเหรียญพระเจ้าศรีธรรมโศกราช
รุ่นบันดาลโชค วังโบราณลานสะกา
ที่เปิดให้จองและสร้างตามจำนวนที่สั่งจอง






พระเหรียญ พิมพ์กรรมการ






เหรียญที่ระลึก พิมพ์กรรมการ



เหรียญที่ระลึกด้านหน้าจะเป็นพระเจ้าศรีธรรมโศกราช ลานสะกา ส่วนด้านหลังจะเป็นหลวงปู่ขาบ


พระผงพระเจ้าศรีธรรมโศกราช
รุ่นบันดาลโชค วังโบราณลานสะกา
ที่ได้เปิดให้จองและสร้างตามจำนวนที่สั่งจอง



พระผงว่านทั้ง 3 สี ใช้บล๊อคพิมพ์ 2 แบบ แบบที่ 1 องค์พระมีลักษณะอ้วนสมบูรณ์ ด้านหลังรูปนามปีมะเมีย (ม้า) จะมีลักษณะอ้วนและที่คำว่า ฟู สระดูจะลึก แบบที่ 2 องค์พระมีลักษณะผอมกว่า ด้านหลังรูปนามปีมะเมีย (ม้า) จะมีลักษณะที่ผอมกว่า และที่คำว่า ฟู สระอูจะสูง ทั้ง 2 แบบจะมีโค๊ตอยู่ด้านข้างชัดบ้างไม่ชัดบ้าง และมีบางส่วนที่โค๊ตไม่มี เพราะได้สร้างพระไว้จำนวนหนึ่งเพื่อเข้ากรุไว้ในวังโบราณ แต่พระได้มาปะปะกันจึงไม่สามารถแยกได้ สำหรับสีขาวจะมีขาว 2 แบบ คือ 1.ขาวล้วน 2.ขาวธรรมชาติ


เนื้อผงดินเผาเคลือบ






เนื้อผงดินเผาเคลือบ พิมพ์กรรมการ






พระผงเนื้อไม้ พิมพ์การการ กดมือ






พระผงเนื้อไม้ พิมพ์กรรมการ กดมือ






พิมพ์กรรมการ






พิมพ์กรรมการ







ลำดับเหตุการณ์สำคัญของวังโบราณลานสะกา

ครั้งที่ 1 วันที่ 14 มกราคม 2546 ชาวบ้าน หมู่ 3, หมู่ 6 นัดมาประชุมร่วมกัน ณ ศาลาเทิดพระเกียรติ หมู่ 6 โดยมีแกนนำคือ พระครูนิวิฐธรรมรักษ์ เจ้าคณะตำบลลานสะกา นายเลิศชัย ศรีแฉล้ม, นายชุม ศรีแฉล้ม, นายเอียด ศรีสุรางค์ ร่วมกับผู้อาวุโสของหมู่ 3, 6 เพื่อสอบถามเรื่องราวเกี่ยวกับพระเจ้าศรีธรรมโศกราช องค์เดิมที่สูญหายไปเมื่อปี พ.ศ. 2518 และความเป็นไปได้ในการขุดค้นหา เพื่อบูรณะใหม่ ซึ่งทุกคนในที่ประชุมเห็นด้วย

ครั้งที่ 2 วันที่ 10 มีนาคม 2546 พิธีบวงสรวงดวงวิญญาณและขุดค้นหาโดยพราหมณ์แจ้ง พรหมชาติ อดีตพราหมณ์สำนักพระราชวัง โดยมีนายอำเภอเชาวลิตร ศาสตราภัย เข้าร่วมพิธี และเริ่มขุดโดยใช้รถแบคโคของเอกชน ตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม จนกระทั่งได้ขุดพบในวันที่ 15 มีนาคม 2546 เวลาตอนเย็น ในการขุดนั้นค่าใช้จ่ายทั้งหมดนายเลิศชัย ศรีแฉล้มเป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด และองค์พระที่ขุดได้เสียหายซ่อมไม่ได้จึงคิดสร้างองค์ใหม่ขึ้น คุณฉันท์ทิพย์ พันธรักษ์ราชเดช จึงกำหนดฤกษ์เททอง

ครั้งที่ 3 วันที่ 22 มีนาคม 2546 นายเลิศชัย ศรีแฉล้ม ได้จัดทำหนังสือถึงพระราชธรรมสุธี เจ้าอาวาสวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เพื่อขออนุญาตถ่ายรูปแบบองค์พระเจ้าศรีธรรมโศกราชภายในวัดพระมหาธาตุฯ เพื่อเป็นองค์ต้นแบบ

ครั้งที่ 4 วันที่ 21 กรกฎาคม 2546 พล.ต.ต.ขันพันธรักษ์ราชเดช และคณะได้เดินทางมาตรวจดูสถานที่ ณ สถานที่ก่อสร้างวังโบราณลานสะกา

ครั้งที่ 5 วันที่ 7 สิงหาคม 2546 พิธีแห่ทองนำฤกษ์จากวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารมายังวังโบราณลานสะกา โดยที่วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมนครศรีธรรมราชมอบหมายให้ ร.ท.สมพร ปานดำ นำรถบรรทุกหกล้อคณะกลองยาวอาจารย์และนักศึกษาเข้าร่วมขบวนพร้อมด้วยโรงเรียนในเขตอำเภอลานสะกาจัดขบวนรถต่างๆ วันที่ 8 สิงหาคม 2546 พิธีเททองหล่อรูปพระเจ้าศรีธรรมโศกราชองค์ใหญ่หน้าตัก 30 นิ้ว สูง 250 ซม. และรูปเหมือนหลวงปู่ขาบ โดยมีคุณฉันท์ทิพย์ พันธรักษ์ราชเดชเป็นเจ้าพิธี หลวงปู่สังข์ วัดดอนตรอเป็นประธานเททองพร้อมด้วยเกจิอาจารย์ชื่อดังภาคใต้ มีนายอำเภอเชาวลิตร ร่วมพิธี นอกจากนี้ยังมีทีมงานครูเชาว์ เขาทะลุ, ไข่นุ้ยคุ้ยข่าว และสื่อมวลชนต่างๆ ซึ่งวันนี้ได้เปิดจองวัตถุมงคลเป็นครั้งแรก

ครั้งที่ 6 วันที่ 20 มกราคม 2547 พิธีปลุกเสกวัตถุมงคล ครั้งที่ 1 ที่วิหารพระสูงมีนายอำเภอเรวัฒน์ อัมพวานนท์ นายอำเภอลานสะกาเป็นประธานจุดเทียน คุณฉันท์ทิพย์ พันธรักษ์ราชเดช เจ้าพิธี

ครั้งที่ 7 วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2547 พิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลครั้งที่ 2 ที่พระวิหารหลวงวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร พระครูนิวิฐธรรมรักษ์ประธานจุดเทียนชัย คุณฉันท์ทิพย์ พันธรักษ์ราชเดช เจ้าพิธี

ครั้งที่ 8 วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2547 พิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลครั้งที่ 3 ณ ศาลากลางน้ำวังโบราณลานสะกา โดยมีเกจิอาจารย์ร่วมอธิษฐานจิตเป็นจำนวนมาก พ.ต.อ.พิทักษ์ คลังจันทร์ ผกก.ลานสะกา ประธานจุดเทียน นายอำเภอเรวัฒน์ อัมพวานนท์ ทำลายบล๊อกและแม่พิมพ์ในพิธี คุณฉันท์ทิพย์ พันธรักษ์ราชเดช เจ้าพิธี วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2547 ดับเทียนชัย โดยพ่อท่าน วิน วัดลาสะกาใน

ครั้งที่ 9 เดือน กุมภาพันธ์ 2547 ได้ว่าจ้างนายณรงค์ เหล็กเพชร เขียนแบบที่ประดิษฐานพระเจ้าศรีธรรมโศกราช

ครั้งที่ 10 วันที่ 3 มีนาคม 2547 ประกาศขายแบบประกวดราคา โดยมีพระครูนิวิฐธรรมรักษ์ และมีผู้มาซื้อแบบ จำนวน 2 ราย

ครั้งที่ 11 วันที่ 5 มีนาคม 2547 จัดซื้อที่ดินเพิ่มประมาณ 5 ไร่ ราคา 300,000 บาท จากชาวบ้าน 2 ราย เพื่อสร้างที่ประดิษฐาน โดยมีทีมงานครูเชาว์ เขาทะลุ ร.ท.สมพร ปานดำ คุณฉันท์ทิพย์ พันธรักษ์ราชเดช พระครูนิวิฐธรรมรักษ์ ร่วมทำสัญญา และเป็นสักขีพยาน มีนายเนิม วิคะบำเพิง เป็นผู้ประสานงานเรื่องซื้อขายที่ดิน

ครั้งที่ 12 วันที่ 28 มีนาคม 2547 ได้เปิดซองประกวดราคา มี 2 ราย ดังนี้ รายที่ 1 เสนอราคาที่ สี่ล้านหนึ่งแสนเจ็ดพันเก้าบาทถ้วน รายที่ 2 เสนอราคาที่ สองล้านเจ็ดแสนห้าหมื่นบาทถ้วน โดยนายณรงค์ เหล็กเพชร (ผู้เขียนแบบ) และต่อรองราคาเหลือสองล้านเจ็ดแสนบาทถ้วน

ครั้งที่ 13 วันที่ 20 เมษายน 2547 ทำสัญญาว่าจ้าง โดย ร.ท.สมพร ปานดำ ได้จัดทำสัญญาว่าจ้าง 18 เดือน ตามงวดงานงวดเงินโดยให้งานเสร็จวันที่ 23 ตุลาคม 2548 พระครูวินิฐธรรมรักษ์ได้แต่งตั้ง อ.จรัส อิฏฐผล จากโรงเรียนกัลยาณีศรีธรรมราชเป็นผู้ควบคุมงานก่อสร้าง

ครั้งที่ 14 วันที่ 3 พฤษภาคม 2547 พิธีวางศิลาฤกษ์ที่ประดิษฐานโดยมี พล.ต.ต.ธวัช บุญเฟื่อง ผู้บังคับการตำรวจภูธร จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นประธาน คุณฉันท์ทิพย์ พันธรักษ์ราชเดช เป็นเจ้าพิธี และสื่อมวลชนจากทุกสาขา ได้มาทำข่าวเพื่อประชาสัมพันธ์

ครั้งที่ 15 ประมาณเดือนกรกฎาคม 2547 ได้สร้างกุฏิสงฆ์จำนวน 5 ห้อง

สภาพปัจจุบัน รูปแบบสิ่งก่อสร้างที่ประดิษฐานพระเจ้าศรีธรรมโศกราช ที่กำลังจะแล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคมนี้ ได้เป็นสถาปัตยกรรมที่มีความสวยงาม โดดเด่นเป็นสง่า มีรูปแบบเฉพาะของท้องถิ่น และจะเป็นแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และความเป็นอยู่สำหรับคนรุ่นหลัง คณะผู้ดำเนินการจัดสร้างได้ตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องดังกล่าว เพื่อใช้เป็นที่สร้างกิจกรรมสาธารณะของชุมชน และนักเรียน อันเป็นส่วนหนึ่งของการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวของอำเภอลานสะกาซึ่งจะได้จัดกิจกรรมมอบทรัพย์สินที่ได้มาจากการดำเนินการจัดสร้างวัตถุมงคล พร้อมด้วยวัตถุมงคลส่วนหนึ่งให้กับอำเภอลานสะกา ได้ใช้กระบวนการของทางราชการได้ดูแล และวางแผนงาน เพื่อจัดกิจกรรมให้เป็นที่ปรากฏ และเกิดคุณประโยชน์ต่อคนทั่วๆ ไป

พระเกจิอาจารย์ที่ร่วมอธิษฐานจิต

1. พ่อท่านสังข์ วัดดอนตรอ อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.นครศรีธรรมราช 2. พ่อท่านนวล วัดไสหร้า อ.ทุ่งใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช 3. พ่อท่านเนียม วัดบางไทร อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช 4. พ่อท่านผดุง วัดภูเขาหลัก อ.ทุ่งใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช 5. พระราชธรรมสุธี เจ้าอาวาสวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.นครศรีธรรมราช 6. พ่อท่านพัฒน์ วัดกลาง อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช 7. พ่อท่านจบ วัดบางจาก อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช 8. พ่อท่านวัชรินทร์ วัดป่าโมกข์ จ.พังงา 9. พ่อท่านประสูตร วัดถ้ำพระพุทธโกษีย์ (วัดในเตา) จ.ตรัง 10. พ่อท่านแปลก วัดในปรง กิ่งอำเภอหาดสำราญ จ.ตรัง 11. พ่อท่านวัน วัดเสาธงทอง จ.นครศรีธรรมราช 12. พ่อท่านหรั่ง วัดห้วยเตง อ.พรหมคีรี จ.นครศรีธรรมราช 13. พ่อท่านสมนึก วัดหรงบล อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช 14. พ่อท่านเกษม วัดชะเมา อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช 15. พ่อท่านชม วัดโพธิ์เสด็จ อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช 16. พ่อท่านไสว วัดนาเขลียง อ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช 17. พ่อท่านวิน วัดลานสะกาใน อ.ลานสะกา จ.นครศรีธรรมราช 18. พ่อท่านไพสิฐ อมศรมสามแก้ว อ.ลานสะกา จ.นครศรีธรรมราช 19. พ่อท่านชอบ วัดหน้าพระบรมธาตุ อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช 20. พ่อท่านกาชาด วัดหน้าพระบรมธาตุ อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช 21. พ่อท่านกาแก้ว วัดหน้าพระลาน อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช 22. พระครูฐาณธราภรณ์ เจ้าคณะอำเภอลานสะกา จ.นครศรีธรรมราช 23. พระครูวินิฐธรรมรักษ์ เจ้าคณะตำบลลานสะกา จ.นครศรีธรรมราช 24. พ่อท่านเจริญ วัดหน้าพระลาน อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช 25. พระวินัยโมลี วัดวิเวกรัตนธัชมุนี อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช 26. พ่อท่านแจ้ วัดชมเพชรวนาราม อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช 27. พ่อท่านเลี่ยม วัดคงคาวดี (เสาเภา) อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช