ศูนย์พระเครื่องจตุคาม

ดูรายการวัตถุมงคล  

รุ่นพรจตุรทิศ
สุดยอดมหากาพย์ แห่งพุทธคุณ 9 พิธี 9 วาระ ถ้ำเขาอ้อ พระมหาธาตุ ศาลหลักเมือง สุดยอดมหากาพย์ แห่งพุทธศิลป์ ออกแบบ ตรวจทานโดย ครูช่างสิบหมู่(ชั้นพิเศษ) กรมศิลปกร



วัตถุประสงค์ ๑ .สมทบทุน สร้าง โรงเรียนวัดปทีปพลีผล เพื่อมุ่งเน้นให้ เยาวชนไทยมีการศึกษา เป็นอนาคตของชาติ ๑.๑ ทุนเรียนฟรีแก่เยาวชนที่ยากไร้ ๑.๒ ทุนอาหารกลางวัน แก่เยาวชนที่ขาดแคลน ๑.๓ ทุนนักเรียนดีเด่น ๒.สมทบทุน บูรณะวัดควนปันตาราม จังหวัดพัทลุง เพื่อพระพุทธศาสนา ๒.๑ สร้างซุ้มประตู พระอุโบสถ ๒.๒ สร้างหอฉันท์ ๒.๓ สร้างห้องน้ำ จำนวน ๑๐ ห้อง ๓.มอบให้เป็นขวัญและกำลังใจ แก่ทหารหาญที่ปฏิบัติหน้าที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

องค์จตุคามรามเทพ รุ่น พรจตุรทิศ จัดสร้างโดยวัตถุประสงค์ที่ดี เจตนาบริสุทธิ์เป็นที่ตั้ง จึงเน้นให้วัตถุมงคลมีพลานุภาพและพุทธคุณที่เข้มขลัง ครบถ้วน จึงได้กระทำพิธี ถึง ๙ วาระ ๙ พิธี ครบถ้วนตามแบบฉบับโบราณกาล ทั้งถ้ำฉัตรฑันบรรพต วัดพระมหาธาตุฯ ศาลหลักเมือง กลางทะเลปากพนัง บนท้องฟ้า ฯลฯ จึงทำให้รุ่น พรจตุรทิศนั้น เป็นสุดยอดแห่งพุทธคุณ ควรค่าแก่การบูชา อาราธนาติดตัว

วาระที่ ๑ : ศาลหลักเมือง จังหวัด นครศรีธรรมราช วันศุกร์ที่ ๒๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐ เวลา ๐๙.๐๙ น.

วาระที่ ๒ : วัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร จังหวัด นครศีธรรมราช วันศุกร์ที่ ๒๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐ เวลา ๑๓.๐๙ น.

วาระที่ ๓ : วัดควนปันตาราม จังหวัด พัทลุง วันเสาร์ที่ ๒๖ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐ เวลา ๒๐.๐๙ น. กำหนดพิธี : ๑.พราหมณ์ ทำพิธีบวงสรวง ขออนุญาติจัดสร้างองค์พ่อ จตุคามรามเทพ ๒.หลวงพ่อช่วง (พระครู วิโรจน์ ศาสนกิจ เจ้าอาวาสวัดควนปันตาราม เจ้าคณะตำบล) ประธานจุดเทียนชัย ๓.พระเกจิสายเขาอ้อ ๙ รูป ทำพิธีพุทธาภิเษก นั่งปรกอธิษฐานจิต ตามแบบฉบับเขาอ้อโบราณ ๔.หลวงพ่อเอียด เจ้าอาวาส วัดโคกแย้ม ดับเทียนชัย รายนามพระเกจิ : ๑.หลวงพ่อช่วง เจ้าอาวาส วัดควนปันตาราม ๒.หลวงพ่อคล้อย เจ้าอาวาส วัดภูเขาทอง ๓.หลวงพ่อเอียด เจ้าอาวาส วัดโคกแย้ม ๔.หลวงพ่อห้อง เจ้าอาวาส วัดเขาอ้อ ๕.หลวงพ่ออุทัย เจ้าอาวาส วัดดอนศาลา ๖.หลวงพ่อพรหม เจ้าอาวาส วัดบ้านสวน ๗.หลวงพ่อเหวียน เจ้าอาวาส วัดพิกุลทอง ๘.หลวงพ่อเจิม เจ้าอาวาส วัดป่าพะยอม ๙.หลวงพ่อเศียร เจ้าอาวาส วัดโคกโดน

วาระที่ ๔ : วัดเขาอ้อ จังหวัด พัทลุง (ถ้ำเขาอ้อ) วันอาทิตย์ที่ ๒๗ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐ เวลา ๐๐.๐๙ น.(เที่ยงคืน) กำหนดพิธี : ๑.หลวงพ่อห้อง เจ้าอาวาส วัดเขาอ้อ จุดเทียนชัย ทำพิธีพุทธาภิเษกในถ้ำ ๒.พระเกจิ สายเขาอ้อ รวม ๙ รูป ร่วมนั่งปรก อธิษฐานจิต ภายในถ้ำ ปลุกเสกวัตถุมงคล

วาระที่ ๕ : วัดปทีปพลีผล จังหวัด กรุงเทพฯ วันอาทิตย์ที่ ๑๕ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐ เวลา ๑๕.๔๙ น. กำหนดพิธี : ๑.พระอธิการ ประพันธ์ เจ้าอาวาสวัดปทีปพลีผล จุดเทียนชัย ทำพิธีพุทธาภิเษก ในพระอุโบสถ ๒.หลวงพ่อประพันธ์ นั่งปรกเดี่ยว อธิษฐานจิต ๙ วัน ๙ คืน ๓.หลวงพ่อประพันธ์ และพระวัดปทีป รวม ๙ รูป ทำพิธีพุทธาภิเษก ที่ พระอุโบสถ ในวันสุดท้าย ดับเทียนชัย

วาระที่ ๖ : ปรกกลางหาว ๘ ทิศ ยอดเขาอ้อ วัดเขาอ้อ วันเสาร์ที่ ๒๘ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐ เวลา ๒๐.๐๙ น. กำหนดพิธี : พระเกจิคณาจารย์สายเขาอ้อ นั่งอธิษฐานจิต ปรกกลางหาว ๘ ทิศ บนยอดเขาอ้อ เวลากลางคืน ตามแบบฉบับโบราณ ดั้งเดิม บนยอดเขา

วาระที่ ๗ : ศาลหลักเมือง จังหวัด นครศรีธรรมราช วันพฤหัสบดี ที่ ๒๓ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐ เวลา ๑๘.๐๙ น. ประธานฝ่ายสงฆ์ : หลวงพ่อเอื้อม วัดบางเนียม ประธานฝ่ายฆราวาส : พลเอก พัลลภ ปิ่นมณี กำหนดพิธี : ๑.พราหมณ์ ทำพิธีบวงสรวง ขออนุญาติองค์พ่อ จตุคามรามเทพ ๒.หลวงพ่อเอื้อม (อายุ ๑๐๓ ปี) เจ้าอาวาส วัดบางเนียม ประธานจุดเทียนชัย ๓.พระเกจิสายเขาอ้อและสายใต้ รวม ๑๗ รูป ทำพิธมหาพุทธาภิเษก นั่งปรกอธิษฐานจิต ตามแบบหลักการ รายนามพระเกจิ : ๑.หลวงพ่อเอื้อม เจ้าอาวาส วัดบางเนียม ๒.หลวงพ่อพรหม เจ้าอาวาส วัดบ้านสวน ๓.หลวงพ่อเอียด เจ้าอาวาส วัดโคกแย้ม ๔.หลวงพ่ออุทัย เจ้าอาวาส วัดดอนศาลา ๕.หลวงพ่อไพรัตน์ วัดเขาอ้อ ๖.หลวงพ่ออุทัย วัดวิหารสูง ๗.หลวงพ่อท้วม วัดศรีสุวรรณ ๘.หลวงพ่อครัน วัดหรงบน ๙.หลวงพ่อสูตร วัดในเตา ๑๐.หลวงพ่อหรีด วัดปากโมกข์ ๑๑.หลวงพ่อเนียม วัดบางไทร ๑๒.หลวงพ่อณรงค์ วัดพรหมโลก ๑๓.หลวงพ่อรัญสิริ วัดบ้านสวน ๑๔.หลวงพ่อหรั่ง วัดนพรัตนาราม ๑๕.หลวงพ่อหม่ำ วัดห้วยเต็ง ๑๖.หลวงพ่อสมนึก วัดหรงบน ๑๗.หลวงพ่อพล วัดวิหารสูง

วาระที่ ๘ : ออกทะเล ใจกลางสะดือทะเล บ้านปากพนัง จังหวัด นครศรีธรรมราช วันศุกร์ที่ ๒๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐ เวลา ๑๓.๐๙ น. กำหนดพิธี : ๑.พราหมณ์ ทำพิธีบวงสรวง ขออนุญาติองค์พ่อ จตุคามรามเทพ ๒.ออกเดินเรือไปยังใจกลางสะดือทะเล ๓.เจ้าอาวาส พร้อมพระเกจิ ๕ รูป นั่งปรกทำพิธีพุทธาภิเษก กลางทะเล ปากพนัง

วาระที่ ๙ : วัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร จังหวัด นครศรีธรรมราช วันอาทิตย์ ที่ ๒๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๐ เวลา ๑๖.๐๙ น. ประธานฝ่ายสงฆ์ : พระราชธรรมสุธี เจ้าอาวาส วัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร ประธานฝ่ายฆราวาส : พลเอก พิศาล วัฒนวงศ์คีรี อดีต แม่ทัพภาค๔ กำหนดพิธี : ๑.พราหมณ์ ทำพิธีบวงสรวง ขออนุญาติองค์พ่อ จตุคามรามเทพ ๒.พลเอก พิศาล วัฒนวงศ์คีรี อดีต แม่ทัพภาค๔ ประธานจุดเทียนชัย ๓.พระราชธรรมสุธี เจ้าคณะจังหวัด ประธานจุดเทียนชัย ๔.พระเกจิสายเขาอ้อและสายใต้ รวม ๔๐ รูป ทำพิธีมหาพุทธาภิเษก นั่งปรกอธิษฐานจิต ตามแบบหลักการ รายนามพระเกจิ : ๑.หลวงพ่อเอื้อม เจ้าอาวาส วัดบางเนียม ๒.หลวงพ่อพรหม เจ้าอาวาส วัดบ้านสวน ๓.หลวงพ่อเอียด เจ้าอาวาส วัดโคกแย้ม ๔.หลวงพ่ออุทัย เจ้าอาวาส วัดดอนศาลา ๕.หลวงพ่อไพรัตน์ วัดเขาอ้อ ๖.หลวงพ่ออุทัย วัดวิหารสูง ๗.หลวงพ่อท้วม วัดศรีสุวรรณ ๘.หลวงพ่อครัน วัดหรงบน ๙.หลวงพ่อสูตร วัดในเตา ๑๐.หลวงพ่อหรีด วัดปากโมกข์ ๑๑.หลวงพ่อเนียม วัดบางไทร ๑๒.หลวงพ่อณรงค์ วัดพรหมโลก ๑๓.หลวงพ่อรัญสิริ วัดบ้านสวน ๑๔.หลวงพ่อหรั่ง วัดนพรัตนาราม ๑๕.หลวงพ่อหม่ำ วัดห้วยเต็ง ๑๖.หลวงพ่อสมนึก วัดหรงบน ๑๗.หลวงพ่อพล วัดวิหารสูง ๑๘.หลวงพ่อคล้อย วัดภูเขาทอง ๑๙.หลวงพ่อชัย วัดพะโด๊ะ ๒๐.หลวงพ่อเหนียว วัดโคกโพธิ์สถิตย์ ๒๑.หลวงพ่อแว่น วัดเจดีย์ ๒๒.หลวงพ่อพล วัดทุ่งนารี ๒๓.หลวงพ่อชัย วัดบางไทร และคณาจารย์อีกมากมายทั่วทุกภาค

การกำหนดสีของรุ่น พรจตุรทิศ แบ่งเป็น ๗ สี เปรียบดั่งชื่อคือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ไม้ เหล็ก รวม ๑ สีเหลือง สุวรรณภูมิ แผ่นดินอุดมสมบูรณ์ ก็เปรียบเสมือน มั่งคั่งอุดมโภคทรัพย์ หากต้องการความร่ำรวย เจริญมั่งคั่ง ๒ สีเขียว วารี น้ำ คือจุดกำเนิดของสรรพสิ่ง เปรียบเสมือนความร่มเย็นเป็นสุข ทำสิ่งใดก็ราบรื่นดุจสายน้ำไหลหลาก และน้ำเป็นของเหลวที่อยู่ได้ทุกที่ เปลี่ยนรูปได้ในทุกสภาพ ก็เปรียบดั่ง ความเมตตามหานิยม ที่เข้าได้กับทุกคน ทุกสิ่ง ๓ สีขาว วายุ ลม คือสิ่งที่ไม่สามารถจับต้องได้ แต่รับรู้ได้ ดังนั้น ลมจึงเปรียบเสมือความว่องไว ความคิด สติปัญญาที่เฉลียวฉลาดหลักแหลม หากต้องการเป็นปราชน์ผู้มีสติปัญญา และลม ยังเปรียบดั่งลมหายใจ หายใจสะดวกสุขภาพก็แข็งแรง หากต้องการแข็งแรงไม่เจ็บไข้ อายุยืน ก็ควรบูชาไว้ ๔ สีแดง อัคคนี ไฟมิได้หมายเพียงไฟอัคนี แต่ยังหมายถึงแสงสว่าง ดังนั้น หากต้องการชีวิตการทำงานโชติช่วงชัชวาลย์ ก็ควรบูชา เหมาะสำหรับข้าราชการ พนักงานทุกชนชั้น และธาตุไฟเปรียบดั่งแสงสว่าง นำทาง ก็เปรียบดั่ง มีผู้คอยอุปการะค้ำจุน ช่วยเหลือส่งเสริม ๕ สีน้ำตาล พฤกษา ไม้เป็นสิ่งนึกถึงความมั่นคง รากฐากทุกแห่งในอดีตต้องมีไม้เป็นส่วนประกอบ และการแผ่กิ่งก้านสาขาออกไปทั่วทุกสารทิศ หากต้องการชีวิตที่มั่นคง ลูกหลานร่มเย็น เติบโตขจรขจาย ๖ สีดำ นิลกาล พลอย เหล็ก หรือแร่ธาตุ สีดำ เปรียบดั่ง แคล้วคลาดมหาอุต หากเดินทางไกล หรือไปในที่อันตราย ก็จะปลอดภัย พบแต่สวัสดิภาพ ไร้ศัตรู หรือศัตรูผ่าย ๗ สีรวม คือการรวมทั้งหมด เข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งจะคอยเสริมซึ่งกันและกัน ให้ครบสมบูรณ์ในทุกๆด้าน

ความหมายของการออกแบบ ในรุ่นพรจตุรทิศ ของครูช่างมีดังนี้

องค์พ่อ ปางประทานพร การจักเป็นปางประทานพร เปรียบดั่งท่านเป็นพระโพธิสัตว์ การชูมือจึงเป็นดั่งให้พรโปรดสัตว์ แต่ หากจะให้ถูกต้องตามตำรา พระโพธิสัตว์อยู่ในพระพุทธศาสนา จึงต้องบ่งชี้ด้วยการ มีสมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า บนพระเศียร (อันที่จริงต้องใช้คำว่า บนพระเจ้า เพราะคำราชาศัพท์ที่ใช่ต่อพระมหากษัตริย์ ศรีษะ เรียกว่า พระเจ้า มิใช่พระเศียร แต่เราอาจอุปมาได้ว่าท่านอยู่ในรูปของพระโพธิสัตว์) จึงจะเป็นปางประทานพร เพราะองค์พ่อมิใช่พระพุทธ แต่เป็นเทพที่เข้าสู่โพธิสัตว์จึงประทานพรโดยไม่มีพระพุทธเจ้าเห็นจะไม่ควร เครื่องทรง วิจิตรแบบ อาณาจักรศรีวิชัย เมืองภาคใต้ส่วนใหญ่ล้วนติดทะเล สภาพภูมิอากาศออกไปทางอบอ้าว การแต่งกายของคนทั่วๆไป หรือเครื่องทรงของเจ้าเมือง ก็จะออกลักษณะ โปร่งสบาย และมักจะไม่สวมเสื้อ ส่วนกางเกงก็จะเป็นผ้า ลักษณะคล้ายผ้าซิ่นใช้ผูก ซึ่งต้องระวังในจุดนี้ เพราะหากออกแบบพริ้วเกินไปจะกลายเป็นผ้าบาหลีทันที ดังนั้นตามหลักประวัติศาสตร์ องค์พ่อจึงไม่ได้สวมฉลองพระองค์(เสื้อ) แต่จักทรงเครื่องสังวาลย์ และที่พระองคุลี (นิ้ว) จักทรงพระธำมรงค์ (แหวน) โดดเด่น ทรงประทับบนบัวคว่ำ-บัวหงาย พระโพธิสัตว์ หากฐานรองเป็นบัว จักต้องประทับโดยการนั่งเท่านั้น หากเป็นการยืนจะผิดหลักการ เพราะจะไปเปรียบดั่งพระพุทธเจ้า (เช่นโพธิสัตว์เจ้าแม่กวนอิม ทรงประทับบนบัว แต่หากเป็นท่ายืน จะยืนบนเมฆ หรือ มังกร ) บัวที่พระทับขององค์พ่อ จะเป็นบัวภาคใต้ คือบัวคว่ำ-บัวหงาย ซึ่งหากเป็นบัวภาคอื่น ก็จะมีชื่อเรียกไปแบบอื่นๆแทน เช่นบัวตูมบัวบาน พญาราหู ๘ ตน พญาราหูเปรียบดั่ง ผู้ปกป้ององค์พ่อ พญาราหูเป็น อสุรเทพ เหตุที่มี ๘ ตน ก็เปรียบดั่ง ทิศทั้ง ๘ โดยมี ทิศใหญ่ ๔ ทิศ อยู่หน้า ทิศย่อยอีก ๔ ทิศ อยู่หลัง โดยระบุความสำคัญ หน้า-หลัง จากการวางศอก เกยกันเป็นวงกลม ต่อกันไปเรื่อยๆโดยเริ่มจากทิศเหนือก่อน เส้นตัดขอบ เป็นจุดกำหนดเขตของจักรนารายณ์ ในพุทธศิลป์ พรจตุรทิศ ครูช่าง แฝงจักรนารายณ์ไว้ที่เส้นนี้ จักรนารายณ์เป็นศาสตราวุธ ของพระนารายณ์อวตาร ตำราบางเล่มกล่าวว่า องค์พ่อจตุคามเป็นภาคหนึ่งของพระนารายณ์ จึงมีการใส่จักรนารายณ์เอาไว้ แต่การแฝงพุทธภาษิตนี้ ครูช่าง อุปมาอุปไมย เปรียบจักร ดั่ง สรรพสิ่งชีวิต ที่ต้องหมุนเวียนตลอดเวลา ตามวัฏฏะสงสาร หรือเคลื่อนที่ตลอดอย่างไม่หยุดนิ่ง ดั่งจักรที่หมุนตลอดเวลา ดังนั้นเการมองด้วยตาเปล่าไปที่จักรที่กำลังหมุน เราจักไม่เห็นใบจักร หากเราเห็นใบจักรแสดงว่าจักรนั้นหยุดนิ่ง จุดไข่ปลา การกำหนดเส้นแบ่งเป็นจักรนั้นจะไม่สมบูรณ์ จึงจำเป็นต้องใช้จุดไข่ปลา กำหนดเป็นวงในของจักร ตามศาสตร์แห่งศิลป์ จึงจะสมบูรณ์

พระธาตุ เมืองนครฯ เป็นพระบรมธาตุในวัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งประดิษฐาน พระบรมสารีริกธาตุ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยปากทางเข้า จะมีองค์จตุคาม ประทับด้านขวามือ และองค์รามเทพ ประดับด้านซ้ายมือ เป็นสัญลักษณ์ของเมืองนครฯ ดวงสุริยัน จันทรา เป็นดวงตามพระอาทิตย์และพระจันทร์ พระอุโบสถ เป็นพระอุโบสถ วิหารหลวง ในวัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช ยันต์ตัว นะเทวฑูต เป็นยันต์ที่เปรียบเสมือนราชฑูต ติดต่อระหว่าง เทพกับมนุษย์ จึงสามารถขอพรผ่านองค์พ่อ รุ่นพรจตุรทิศได้เลย ดวงตรา ๑๒ นักษัตริย์ เป็นตรา ๑๒ นักษัตริย์ อันเริ่มต้นที่ เถาะ มะโรง มะเส็ง มะเมีย มะแม วอก ระกา จอ กุน ชวด ฉลู และจบลงที่ขาล ครบ ๑๒ เปรียบดั่ง นครทั้ง ๑๒ ที่องค์พ่อเคยปกครอง

พระผงทุกขนาด ปั้มโค๊ด ทุกองค์





ตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.pornjatukam.com