ศูนย์พระเครื่องจตุคาม

ดูรายการวัตถุมงคล  

รุ่นรักแผ่นดิน







แถวที่ 1 - ได้รับเมตตามวลสารจากครูบาน้อย วัดศรีดอนมูล จ.เชียงใหม่ - หลวงปู่หงส์ พรหมปัญโญ วัดเพชรบุรี จ.บุรีรัมย์ ลงแผ่นจารและเสกชนวนมวลสารวันเสาร์ห้า - ได้รับเมตตามวลสารจากครูบาพระมหาทองสุข สิริวิชโย ศรีวิชัย วัดบวกครกน้อย จ.เชียงใหม่ - พระครูธรรมธร สิรภพ ทองพุทธิพล ปุญญโชโต ภิกขุ เจ้าอาวาสวัดท่าไชยศิริ จ.เพชรบุรี มอบมวลสารศักดิ์สิทธิ์

แถวที่ 2 - ปาฏิหาริย์นิรมิตดวงเทพปรากฏบนมณฑปสังขารองค์หลวงพ่ออุตมะ ขณะคณะทำงานขออนุญาตนำลูกประคำศักดิ์สิทธิ์มาเป็นมวลสาร - พระอธิการสมจิตต์ เขมะจิตโต วัดปากน้ำโจ้โล้ จ.ฉะเชิงเทรา มอบมวลสารศักดิ์สิทธิ์ - พิธีรับมอบมวลสารศักดิ์สิทธิ์ทั่วประเทศจากสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา

แถวที่ 1 - มวลสารที่ได้จากการสร้างพระพุทธนาคบริรักษ์ เนื่องในโอกาสครบรอบ ๔๘ พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ - ผงดิน ๗ โป่ง ๗ ป่า ๗ ท่าน้ำ ๗ สระน้ำ ๗ หลักเมือง, ผงวิเศษทั้ง ๕ สมเด็จโต (ดินกากยายักษ์), ผงสุริยัน-จันทรา กาฝาก ชันโรง ผงกะลาตาเดียว ๒๐๐๐ ลูก จากครูบาทองสุข วัดบวงครกน้อย จ.เชียงใหม่, ผงเกสรดอกไม้ ๑๐๘ เสาหลักเมืองเชียงใหม่ - พระชานหมากรุ่นแรก วัดพระธาตุศรีหัวกว้าน หลวงปู่จัน อ.เชียงแสน จ.เชียงราย, มวลสารประทัดกรมหลวงชุมพร จ.ชุมพร, มวลสารพวงมาลัยบูชา พระปิยะมหาราช (ร.๕) พระเจ้าตากสินมหาราช, ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร, ตะกรุดหลวงพ่อแดง วัดบ้านไร่ - ดินโป่งช้าง ป่าละอู จ.ประจวบคีรีขันธ์, ดินจากบ้านเชียง จ.อุดรธานี ผาแร่ ๗ บ่อ ผาไม้มหาเศรษฐี, ดินใต้พระธาตุสำคัญทั่วประเทศ

แถวที่ 2 - ผงจตุคามรามเทพ ปี ๒๕๓๐ ได้รับเมตตาจากพระครูปลัดเกษม จากวัดชะเมา จ.นครศรีธรรมราช - มวลสารชนวนพระกริ่ง จากครูบาน้อย-ครูบาผาด วัดศรีดอนมูล จ.เชียงใหม่, มวลสารผงธูปศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช จ.ตาก - หินเขี้ยวหนุมาน - พระชุดหลังคาโบสถ์ ๑๒๐ วัด วัดเขาวงพระจันทร์ จ.ลพบุรี

แถวที่ 3 - ผงไม้ตะเคียนปี ๒๕๓๐, ผงไม้เทพธาโร - ขี้ผึ้งศรีวิชัย - แร่สะเก็ดดาว, เหล็กไหล - เหล็กเกาะล้าน เหล็กน้ำพี้ และเหล็กนาคราช ป่าละอู

แถวที่ 4 - ผงปูนยอดพระธาตุ (จ.นครศรีธรรมราช), ไม้ตะเคียนปี ๒๕๓๐ (จ.นครศรีธรรมราช), ไม้ขนุน, ไม้สักทองช่อฟ้า (วัดพระแก้ว และฐานชุกชีองค์พระแก้วมรกต), ว่านมงคล ๑๐๘ ดินกากยายักษ์ ไม้เทพธาโร และไม้กฤษณา - ผงดินพระพุทธสิหิงค์, ผงดินวัดครูบาศรีวิชัยสร้าง - มวลสารงาช้าง อ.เชียงดาว - ผงมวลสารและว่าน ๑๐๘ ได้รับเมตตาจากครูบาน้อย วัดศรีดอนมูล จ.เชียงใหม่ แถวที่ 5 - ผงกาฝากต้นไม้ศรีมหาโพธิ์, แร่ไมก้า พระครูบาเจ้า ศรีวิชัย, ผงรังชันโรงใต้ดิน, ผงตุงราศี ๑๒ นักษัตร, ผงวาสนาจินดามณี, ผงต้นโพธิ์นิพพานวิสาขบูชา - อิฐจากอนุสรณ์สถาน สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เชียงดาว - ผงจินดามณีหลวงปู่บุญ และมวลสารศักดิ์สิทธิ์ ๔๗ รายการ จากพระอาจารย์สำราญ ถาวรโร วัดทับไทร จ.จันทบุรี - ผงดินสังเวชนียสถาน ๔ แห่ง จากหลวงพ่อมนัส มนตชาโต วัดคลองเกวียนลอย จ.จันทบุรี

แถวที่ 1 - มวลสารช้าง ม้า มีด หิน ผงธูป ศาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ดอนเจดีย์ อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี - ทรายมหาชน และกระเบื้อง ๑๒๐ วัด หลวงปู่พัก วัดเขาวงพระจันทร์ จ.ลพบุรี, กระเบื้องโบสถ์ วัดเขาสุกิม, หลวงปู่ทวดวัดช้างไห้, วัดสระเกศ (ภูเขาทอง) - ธูป เทียน ดอกไม้ วัดพระแก้ว และของศักดิ์สิทธิ์จากทุกจังหวัด ฯลฯ, แผ่นทอง เงิน นาค ลงอักขระโดยเกจิอาจารย์ทั่วประเทศ - ดิน อิฐใต้ฐานพระธาตุปูนฐานพระธาตุดอยตุงและมวลสารของพระธาตุแห่งดินแดนล้านนา

แถวที่ 2 - ดินนางพญาปลวก ๑๐๘, ผงรังพญาตังนีชันโรง, ผงอิทธิเจเทวดา มหาสีวลี, ผงดินดำพระนเรศวรองค์ดำ, ขวยปู ๑๐๘ มหาเศรษฐี, ดินขวยปี ๑๐๘ มหาโชค - ผงดินประดูท่าแพ, ประตูสวนดอก, ประตูหายยา, ประตูช้างเผือก, ประตูเชียงใหม่, แจ่งศรีภูมิ, แจ่งกู่เฮือง, แจ่งหัวริน, ผงแจ่งขะต๊ำ - ผงสาริกาหลงรัง, ผงดินแดงพระนเรศวร, ผงข้าวมธุปายาส, ผงดินเหลืองพระนเรศวร, ผงดินนางพญาปลวก ๑๐๘ - ผงใบโพธิ์อินเดีย, ผงใบโพธิ์สะหรีพันต้น, ผงหาดทรายแก้ว, ผงต้นคามหาเศรษฐี กฐินเงินล้าน

แถวที่ 3 - น้ำมันพระราหู สุริยัน-จันทรา, น้ำมนต์จาก วัดพระพุทธบาทสี่รอย จ.เชียงใหม่, วัดเจ้าศาลาลอย และวัดพระปฐมเจดีย์, น้ำจากบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ คำชะโนด - ผงพลอย - เหล็กน้ำพี้ ต.น้ำพี้ อ.ทองแสนขัน จ.อุตรดิตถ์ - มวลสารผงธูป ทราย เกสรดอกไม้ ศากหลักเมือง อนุสาวรีย์กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม, หลวงปู่นาค จ.อุดรธานี, พระพุทธชินราช (จ.พิษณุโลก), พระนางจามเทวี (จ.ลำพูน), พระธาตุบัวบาน (ท่าบ่อ), พระใส วัดโพธิ์ชัย (จ.หนองคาย), หลวงพ่อวัดบ้านแหลม (จ.สมุทรสงคราม), หลวงพ่อโสธร (จ.ฉะเชิงเทรา), หลวงพ่อวัดไร่ขิง (จ.นครปฐม), หลวงพ่อโต วัดบางพลีใหญ่ (จ.สมุทรปราการ)

แถวที่ 4 - หัวพญานาคโบสถ์วัดพระฝาง (พระมหาอุตมะ) ส่วนบนของอุโบสถ (ช่อฟ้า) อายุประมาณ ๕๐๐ ปี วัดพระฝาง ต.ผาจุก - ข้าวสารหิน, ไม้เทพทาโร, เกสรดอกไม้, มวลสารตะกรุด, หินในถ้ำฉัตรฑันฑ์, กัลปังหา จากหลวงพ่อห้อง ธัมวโร วัดเขาอ้อ จ.พัทลุง - เกสรดอกไม้และผงธูป ณ วัดบางพลีใหญ่ จ.สมุทรปราการ - กาฝากไม้คูณ ไม้มงคลเพิ่มพูนทวีคูณแห่งพระนครศรีอยุธยา

แถวที่ 5 - ผงธูปสักการะเจ้าพ่อขุนด่านนานกว่า ๕๐๐ ปี, เถ้าอัฐิพระเกจิ อาจารย์ จ.เลย - สถูปพระไชยเชษฐา วัดศรีคุณเมือง หนองบัวลำภู - ซากอิฐเจดีย์โบราณ (ประมาณปี พ.ศ. ๙๐๐), ธูปพระอาจารย์ลอย, เนื้อไม้เทพธาโร, มวลสารจตุคามรามเทพ รุ่นอริยทรัพย์ 50 วัดในเตา - ผงธูปบูชาหลวงพ่ออี๋ (วัดสัตหีบ) จ.ชลบุรี

แถวที่ 1 (แนวตั้ง) - จ.เพชรบุรี แม่น้ำเพชรบุรี ตักที่วัดท่าไชรศิริ แม่น้ำนี้ใช้ประกอบในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกมาแต่รัชกาลที่ ๑ ถึงปัจจุบัน ในครั้งประวัติศาสตร์ทหารไทยได้มาดื่มน้ำที่ท่าวัดนี้ แล้วตั้งมั่นสู้กับทัพพม่าจนพม่าแตกทัพถอยหนีไป จึงขนานนามวัดว่าวัดท่าชัยตั้งแต่นั้น บริเวณท่าน้ำใต้ต้นมะเดื่อยักษ์มีศาลพ่อปู่พญานาคราช เชื่อกันว่าคุ้งน้ำนี้มีพญานาคราชสถิตอยู่ และบางครั้งก็จะปรากฎกายให้ชาวบ้านเห็นด้วย - จ.ฉะเชิงเทรา น้ำศักดิ์สิทธิ์จากปากน้ำโจ้โล้ (เจ้าโล้) อ.บางคล้า นับเป็นปากน้ำยุทธศาสตร์สำคัญที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ทำศึกมีชัยชนะเหนือพม่า ก่อนที่จะเดินทัพต่อไปยังพนัสนิคม ระยอง และจันทบุรี และเมื่อทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นกษัตริย์ทรงโปรดให้สร้างวัดและเจดีย์ใหญ่ขึ้นบริเวณปากน้ำนี้ ซึ่งก็คือวัดปากน้ำโจ้โล้นั่นเอง - จ.บุรีรัมย์ สระน้ำโบราณวัดกลาง (สระสิงโต) ชาวบุรีรัมย์เลื่อมใสว่าศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนักและนำไปประกอบพิธีมงคลต่างๆ ในปี พ.ศ.๒๓๒๐ สมดเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อครั้งทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก เสด็จยกทัพกลับมาจากปราบขบถเมืองนางรองและโพธิสัตว์ ได้ทรงพักไพร่พล ณ บริเวณสระน้ำนี้ ในสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา ทหารญี่ปุ่นได้ยกพลมาพักที่ศาลาข้างสระน้ำ ก่อนจะยกทัพไปยังประเทศพม่า ขณะนั้นเครื่องบินฝ่ายสัมพันธมิตร ทิ้งระเบิดโจมตีทหารญี่ปุ่น ระเบิดหลายลูกตกลงบริเวณสระนี้แต่ไม่ระเบิด เป็นที่น่าอัศจรรย์นัก แถวที่ 2 (แนวตั้ง) - จ.อุทัยธานี แม่น้ำสะแกกรัง จุดพลีน้ำคือ กลางลำน้ำหน้าวัดจันทาราม (วัดท่าสูง) แม่น้ำสะแกกรังถือเป็นแม่น้ำสำคัญและศักดิ์สิทธิ์ ปี พ.ศ.๒๔๔๔ ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕ ได้เสด็จทางแม่น้ำสะแกกรังเข้าตัวเมืองอุทัยธานีเมื่อครั้งเสด็จประพาสหัวเมืองฝ่ายเหนือ และคราวเสด็จประพาสต้นอีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ.๒๔๔๙ สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสก็ทรงเคยเสด็จตรวจการณ์คณะสงฆ์โดยเรือพระที่นั่งในปี พ.ศ.๒๔๕๖ และล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ เคยเสด็จประพาสหัวเมืองผ่านแม่น้ำสะแกกรังยังเป็นสายน้ำที่เชิญพระพุทธรูป ๓ องค์ ที่เป็นพระศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองของชาวอุทัยธานีมาถึงปัจจุบัน คือ พระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์ พระโพธิมงคลและพระพุทธรูปวัดหนองแก ล่องมาจากสุโขทัยในสมัยรัชกาลที่ ๑ ด้วย - จ.สิงห์บุรี สระน้ำศักดิ์สิทธิ์ วัดโพธิ์เก้าต้น หรือชาวบ้านเรียกว่า สระพระอาจารย์ธรรมโชติ แห่งค่ายบางระจัน น้ำในสระมีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก ในสมัยกรุงศรีอยุธยาพระอาจารย์ธรรมโชติเคยนำมาปลุกเสกประพรมบรรดาวีรชนชาวบางระจันที่ออกไปรบกับพม่าทุกครั้ง - จ.นนทบุรี แม่น้ำเจ้าพระยา ณ ท่าน้ำวัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร วัดนี้รัชการที่ ๓ โปรดให้สร้างขึ้น มีความสำคัญคู่บ้านคู่เมือง อดีตนั้นบริเวณหน้าวัดเคยเป็นที่พักกองทัพและประกอบพิธีกรรมยกทัพไปทางเหนือหลายครั้ง เช่น ทัพตีเมืองเชียงตุงสมัยรัชกาลที่ ๔ ทัพปราบฮ่อสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นต้น

- จ.พระนครศรีอยุธยา สระน้ำวัดตูม น้ำในสระนี้เคยใช้ในพิธีลงเครื่องพิชัยสงครามของพระมหากษัตริย์ เช่น ชุบพระแสง เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๑ รัชกาลที่ ๕ ก็ทรงเคยเสด็จมาประกอบพระราชพิธีชุบพระแสงขรรค์ราชศัตราวุธ และรัชกาลที่ ๖ ทรงเคยโปรดเกล้าฯ ประกอบพิธีลงอักขระผ้ายันต์ขาวที่เย็บไว้ในผืนธงกระบี่ธูช อันเป็นธงประจำตำแหน่งจอมทัพไทย ณ พระอุโบสถ วัดตูมด้วย น้ำในสระจึงสำคัญและศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนักแล น้ำศักดิ์สิทธิ์จากเศียรหลวงพ่อทองสุขสัมฤทธิ์ น้ำในสะอาดผุดออกมาสุดอัศจรรย์จากเศียรของหลวงพ่อทองสุข สัมฤทธิ์ พระพุทธรูปเก่าแก่ที่มีมาตั้งแต่ก่อนกรุงศรีอยุธยา อันทรง คุณลักษณะที่สวยงาม และศักดิ์สิทธิ์ ปัจจุบันประดิษฐาน ณ วิหารหลวงพ่อในวัดตูม จ.พระนครศรีอยุธยา - จ.กาญจนบุรี ปากแม่น้ำสามประสบ (ปากน้ำสามชุบ) อ.สังขละบุรี เป็นที่รวมของแม่น้ำ ๓ สาย คือ แม่น้ำบีคลี่ แม่น้ำชองกาเรีย และแม่น้ำรันตี ที่ไหลมาจากเทือกเขาตะนาวศรีแล้วบรรจบกันกำเนิด เป็นแม่น้ำแควน้อย บริเวณปากน้ำนี้เคยเป็นสมรภูมิศึกท่าดินแดง และสามสบเมื่อเกิดสงครามเก้าทัพในสมัยรัชกาลที่ ๑ โดยฝ่ายไทย มีชัยเหนือฝ่ายพม่า แหล่งน้ำนี้จึงศักดิ์สิทธิ์และสำคัญยิ่ง ทั้งยังได้หล่อเลี้ยงชีวิตของสามชนชาติคือ ไทย มอญ พม่า ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน

- จ.นครศรีธรรมราช บ่อน้ำวัดเสมาเมือง วัดหลักบ้านหลักเมืองของนครศรีธรรมราช น้ำที่นี่เคยนำเข้าประกอบพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา และน้ำพระพุทธมนต์ในพระราชพิธีสำคัญต่างๆ บ่อน้ำวัดเสมาชัย วัดสำคัญคู่เมืองนครศรีธรรมราช น้ำในบ่อมีความศักดิ์สิทธิ์เชิงคุณไสยในสมัยโบราณ เมื่อจะทำศึกสงคราม จะตักน้ำมาเสกและประพรมศาสตราวุธเพื่อชัยชนะเหนือข้าศึก บ่อน้ำวัดหน้าพระลาน เชื่อว่าผู้ใดได้ดื่มน้ำในบ่อนี้ จะเกิดสติปัญญา มีบุญวาสนาได้เป็นขุนนางผู้ใหญ่ เมื่อครั้งรัชการที่ ๕ เสด็จพระพาสเมืองนครศรีธรรมราช ก็เคยทรงตักน้ำในบ่อนี้เสวยด้วยพระองค์เอง ห้วยปากนาคราช อ.ลานสกา เชื่อกันว่าน้ำเป็นของพญานาคราช มีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่ง มักนำน้ำไปประกอบพระราชพิธีสำคัญต่างๆ ศิลปินพื้นบ้านก็ให้ความเคารพบูชาหิน และลำห้วยจนทุกวันนี้ บ่อน้ำซับพ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์ อยู่ใน อ.ลานสกา เป็นบ่อน้ำที่หลวงพ่อคล้ายวาจาสิทธิ์ พระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งแดนใต้ให้ชาวบ้านขุดขึ้นบนภูเขา ซึ่งไม่มีใครเชื่อ ว่าจะมีน้ำได้ แต่ด้วยวาจาสิทธิ์หลวงพ่อ จึงมีน้ำซับผุดขึ้นมาอย่างน่าอัศจรรย์ ให้ชาวบ้านได้ใช้ดื่มกินมาจนทุกวันี้



องค์เทวราชโพธิสัตว์ จตุคามรามเทพ ประติมากรรมลอยองค์ 1. พญานาคเจ็ดเศียรใช้รูปแบบนาคไทย สวมมงกุฏ หมายถึง พญานาคนั้นสูงประหนึ่งองค์พญามุจรินทร์นาคราช ที่เคยปกป้องภัยพายุฝน เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าเสวยวิมุติสุขที่สระมุจรินทร์ เมื่อตรัสรู้ใหม่ๆ โดยมีบริวารนาคแวดล้อมรอบบัลลังก์มีคลื่นน้ำกระเพื่อมได้มีความหมายถึงความร่มเย็น 2. องค์พ่อจตุคามรามเทพทรงนั่งท่าสบายๆ ยกมือประทานพร เข้ากับความหมาย ขอได้ ไหว้รับ เป็นผู้ให้แก่ความร่ำรวยแก่ผู้สักการะบูชาองค์ท่านด้วยความจริงใจ 3. องค์เทพราหูที่เป็นบริวารของเทวราชโพธิสัตว์สถิตอยู่ 8 ทิศ ที่เป็นเครื่องหมายแทนค่าของกาลเวลา รวมมาไว้เป็นหนึ่งเดียวอยู่ด้านล่างของบัลลังก์เพื่อให้องค์ประกอบทางด้านศิลปะจะได้ลงตัว















พิธีมหาพุทธาภิเษกและพิธีมหาเทวาภิเษก



























กำหนดรับวัตถุมงคลประมาณเดือน กันยายน 2550 เป็นต้นไป